ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต ต่อความแข็งแกร่งในชีวิตการเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

Authors

  • Paiboon Chaosuansreecharoen Sirindhron College of Public Health, Trang

Keywords:

ความแข็งแกร่งในชีวิต, การเห็นคุณค่าในตนเอง, ความฉลาดทางอารมณ์, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน, Resilience,Self-esteem, Emotional Quotient, Academic Achievement Motivation, undergraduate students

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความแข็งแกร่งในชีวิต การเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ของวิทยาลัย      การสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง จำนวน 101 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต ที่พัฒนาโดย พัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมิน    ความแข็งแกร่งในชีวิตแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และแบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน ค่าความเที่ยงของแบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และแบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน เท่ากับ 0.98, 0.81, 0.85 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีBonferroni methodผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิต การเห็นคุณค่าในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ก่อนได้รับโปรแกรมฯ หลังได้รับโปรแกรมฯ เสร็จสิ้นทันที และระยะติดตาม 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 5.05, p = .007;F = 11.93,  p < .001; F = 212.06, p < .001ตามลำดับ)โดยคะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิต การเห็นคุณค่าในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์หลังได้รับโปรแกรมฯเสร็จสิ้นทันทีสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference = -4.64,S.E. = 1.34, p = .002;Mean difference = -6.44,S.E. = 1.16 p < .001;Mean difference = -29.05, S.E. = 1.73, p < .001ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม คะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิต การเห็นคุณค่าในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ ระยะติดตาม 3 เดือน มีแนวโน้มที่ลดลง สำหรับคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนก่อนได้รับโปรแกรมฯ หลังได้รับโปรแกรมฯ เสร็จสิ้นทันที และระยะติดตาม 3 เดือน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ดังนั้นเพื่อความคงทนของผลของการเข้าร่วมโปรแกรม โปรแกรมควรมีกิจกรรมส่งเสริม/สนับสนุนเมื่อนักศึกษาเลื่อนชั้นปี และกิจกรรมควรมีความสอดคล้องกับบริบทของระดับการศึกษา

Effectiveness of a Resilience- Enhancing Program on Resilience, Self-esteem, Emotional Quotient and Academic Achievement Motivation among 1st–year Students at Sirindhorn College of Public Health, Trang

This quasi-experimental research aimed to examine the effect of Resilience-Enhancing Program on resilience, self-esteem, emotional quotient and academic achievement motivation among 1st–year students.The study sample consisted of 101 first-year undergraduate students in Sirindhorn College of Public Health, Trang in the second semester of the academic year 2017. The instruments of this study consisted of the Resilience-Enhancing Program developed by Patcharin Nintachan et al., the demographic characteristics questionnaire, Resilience Inventory, Rubin’s Self Esteem Scale, Emotional Quotient Screening Test and Academic Achievement Motivation questionnaire. The Reliability’s Resilience Inventory, Rubin’s Self Esteem Scale, Emotional Quotient Screening Test and Academic Achievement Motivation questionnaire were 0.98, 0.81, 0.85 และ 0.90, respectively. The data were analyzed and presented using descriptive statistics and Repeated Measures ANOVA. The multiple comparisons used Bonferroni method. The results revealed that means cores of resilience, self-esteem, and emotional quotient that obtained before receiving program, after receiving program, and after 3 months were different with a statistical significance (F = 5.05, p = .007; F = 11.93, p < .001;  F = 212.06, p < .001, respectively). The meanscores of resilience, self-esteem, and emotional quotient obtained after program implementation was different fromthat obtained before program implementation with a statistical significance (Mean difference = -4.64, S.E. = 1.34, p = .002; Mean difference = -6.44, S.E. = 1.16 p < .001; Mean difference = -29.05, S.E. = 1.73, p < .001, respectively). However, mean scores of resilience, self-esteem, and emotional quotient tendency decrease after 3 months of program implementation. The mean scores of academic achievement motivation that obtained before receiving program, after receiving program, and after 3 months were not significant difference. Because of maintaining effect of program implementation, program should have continuous stimulating activities when student is higher level of education and should be consistent with context of level of education.

References

กรมสุขภาพจิต. (2547). คู่มือการจัดกิจกรรม“ฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ” (สำหรับศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น) (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมสุขภาพจิต. (2543). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต.
กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ, และปัจจมัย ดำทิพย์. (2560). รายงานการวิจัย ความแข็งแกร่งในชีวิต เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฝันฝ่าอุปสรรค สัมพันธภาพกับเพื่อน สุขภาพจิต บรรยากาศในครอบครัว ความสุข และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง.
กนกพร เรืองเพิ่มพูล, นฤมล สมรรคเสวี, และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ผลของโปรเเกรมเสริมสร้างความเเข็งเเกร่งใน วิตต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาล. Rama Nurs J, 21(2), 259-274.
กานดา นาควารี, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(2), 46-63.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2544). ความฉลาดทางอารมณ์: พื้นฐานคุณธรรมสำหรับพยาบาล. จดหมายข่าวสภาการพยาบาล, 2(15), 14.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2548). การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลในการวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป: SPSS for Windows Version 10-12. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพหานคร: บริษัทจุดทอง จำกัด.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, และโสภิณ แสงอ่อน. (2555). โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจุดทอง จำกัด.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนา ทวีคูณ. (2555). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต ในนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. วารสารพยาบาล, 61(2), 18 – 27.
วิจิตรา จิตรักษ์, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และทัศนา ทวีคูณ. (2558).ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าและความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(3), 42-60.
วิลัยพร นุชสุธรรม. (2559). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัย
เชียงราย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(4), 505-519.
สุทธิรักษ์ ไชยรักษ์. (2556). รายงานการวิจัยปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
APS. (2013). Stress & wellbeing: How Australians are coping with life. Retrieved July 12, 2017, from https://www.headsup.org.au/docs/default-source/default-document-library/stress-and-wellbeing-in-australia-report.pdf?sfvrsn=7f08274d_4
Block, J. & Kremen, A.M. (1996). IQ and ego-resiliency: Conceptual and empirical connections and separateness. Journal of Personality and Social Psychology, 70,349–361.
Cunningham, M. & Swanson, D. P. (2010). Educational Resilience in African American Adolescents. The Journal of Negro Education, 79(4), 473-487.
Foster, J., Allen, B., Oprescu, F., & McAllister, M. (2014). Mytern: An innovative approach to increase students’ achievement, sense of wellbeing and levels of resilience. Journal of the Australian and New Zealand Student Services Association, 43, 31-40.
Hanson, T.L. & Austin, G. (2003). Student Health Risks, Resilience, and Academic Performance in California: Year 2 Report, Longitudinal Analyses. Los Alamitos, CA: WestEd.
Jindal-Snape, D. & Miller, D.J. (2008). A challenge of living? Understanding the psycho-social processes of the child during primary-secondary transition through resilience and self-esteem theories. Educational Psychology Review, 20(3), 217–236.
Kim, U., & Park, Y. S. (2006). Indigenous psychological analysis of academic achievement in Korea: The influence of self-efficacy, parents, and culture. International Journal of Psychology, 41(4), 287–291.
Kumpfer, K.L. (1999). Factors and Processes Contributing to Resilience: The Resilience Framework. In: Glantz, M.D. and Johnson, J.L., Eds., Resilience and Development: Positive Life Adaptations, Kluwer, New York, 179-224.
Klohnen, EC. (1996). Conceptual analysis and measurement of the construct of ego-resiliency. Journal of Personality and Social Psychology, 70,1067–1079.
Kwek, A., Bui, H.T., Rynne, J. (2013). The Impacts of Self-Esteem and Resilience on Academic Performance: An Investigation of Domestic and International Hospitality and Tourism Undergraduate Students. Journal of Hospitality & Tourism Education, 25, 110–122.
Lee, J. (2012). Dynamic growth models of academic achievement and self-esteem in South Korean adolescents. Social Behavior and Personality, 40, 1555–1568.
Mwangi, C., Okatcha, F., Kinai, T., & Ireri, A. (2015). Relationship between academic resilience and
academic achievement among secondary school students in Kiambu County, Kenya. International Journal of School and Cognitive Psychology, 1(s2).
Miller, D., & Daniel, B. (2007). Competent to cope, worthy of happiness? How the duality of self-esteem can inform a resilience-based classroom environment. School Psychology International, 28(5), 605-622.
Pidgeon, A.M. & Keye, M. (2014). Relationship between resilience, mindfulness, and psychological well-being in university students. International Journal of Liberal Arts and Social Science, 2, 27-32.
Ross, S. E., Niebling, B. C., & Heckert, T. M. (1999). Sources of stress among college students.
College Student Journal, 33(2), 312.
Ryan, M.L., Shochet, I.M., & Stallman, H.M. (2010). Universal interventions might engage psychologically distressed university students who are unlikely to seek formal help. Advances in Mental Health, 9, 73-83.
Slavin, S.J, Hatchett, L, Chibnall, J.T, Schindler, D & Fendell, G. (2011). Helping Medical Students and Residents Flourish: A Path to Transform Medical Education. Academic Medicine, 86, 15.
Stallman, H.M. (2010). Psychological distress in university students: A comparison with general population data. Australian Psychologist, 45(4), 249–257.
Santhi, P. & Akila, S. (2013). A study on the level of stress based on gender and course of study
among D.T.Ed student teachers. International Journal for Life Sciences and Educational Research, 1(1), 47 – 53.
Seligman, M.E.P., Ernst, R.M., Gillham, J., Reivich, K. & Linkins, M. (2009). Positive education:
positive psychology and classroom interventions. Oxford Review of Education, 35(3), 293–311.
Werner, E. & Smith, R.S (1991). Overcoming the odds: High risk children from birth to adulthood.
Ithaca, New York: Cornell University.
Wolin, S.J.& Wolin, S. (1993). Bound and determined: Growing up resilient in a troubled family.
New York: Villard.
Wynaden, D., McAllister, M., Tohotoa, J., Al Omari, O., Heslop, K., Duggan, R., & Byrne, L. (2014). The silence of mental health issues within university environments: A quantitative study. Archives of Psychiatric Nursing, 28, 339-344.

Downloads

Published

2019-05-26

How to Cite

Chaosuansreecharoen, P. (2019). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต ต่อความแข็งแกร่งในชีวิตการเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง. Journal of Nursing and Health Research, 20(2), 16–30. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/159692