ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน

Authors

  • ศิรินภา วรรณประเสริฐ รพ.สต.บ้านไผ่งาม ต.แจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม จังหวัดลำปาง สังกัดสาธารณสุขอำเภอแจ้ห่ม

Keywords:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, น้ำหนักเกินกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, Health literacy, overweight, pre-hypertension, self-care behavior

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ดัชนีมวลกาย และความดันเลือดแดงเฉลี่ยในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน  กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไผ่งามอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ซึ่งถูกคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย ส่วนที่1โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพพัฒนามาจากแบบจำลองกระบวนการ-ความรู้ของความรอบรู้ด้านสุขภาพมีระยะเวลา 10 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรม 1) การฝึกความสามารถเชิงกระบวนการคิด พัฒนาการสื่อสารความรู้ทั่วไป และพัฒนาความรู้ทางสุขภาพเฉพาะโรค 2) คู่มือความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ 3) เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ ส่วนที่ 2 แบบรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามส่วนความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .95 และ 1.00 และมีค่าความเที่ยงคูเดอร์-ริชาดสัน เท่ากับ .96 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทีผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินในกลุ่มทดลองมีค่ามากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนดัชนีมวลกายและความดันเลือดแดงเฉลี่ยมีค่าน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯนี้สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันการกลุ่มเสี่ยงพัฒนาไปเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

The Effectiveness of a Health Literacy Developmental Program in a Pre-hypertension Group with Overweight

The purpose of a quasi-experimental study with two-group pre-test and post-test design was to study the effectiveness of a health literacy developmental program on health literacy, self-care behaviors, body mass index, and mean arterial blood pressure of a pre-hypertension group with overweight.The sample was the pre-hypertension group with overweight in the area of Tambon Banphaingarm Health promoting Hospital, Chaehom district, Lampang province. The sample was selected by the simple random sampling and put into the experimental and comparative groups which each group included 35. The research instruments consisted of 2 parts: 1 the program of health literacy development which was developed based on the health literacy concept of the Process-knowledge model. The duration of the program was 10 weeks including1) the activities comprised challenging the processing capacity, developing general verbal communication and specific health knowledge. The activities comprised practicing of processing capacity, development of general verbal knowledge, and specific health knowledge. 2) “Health literacy for hypertension prevention” handbook, and 3) an automatic sphygmomanometer; part 2 the data collection instruments consisted the content validity indexes of health literacy and self-care behavior questionnaire were .95 and 1.00, respectively. Kuder-Richardson of health literacy test was .96, and Cronbach’s alpha coefficients of self-care behaviors questionnaire was .87. Data wereanalyzed by descriptive statistics and t-test.The results revealed that after enrolling the program, mean of health literacy and self-care behaviors of pre-hypertension group withoverweight in the experimental group were significantly higher than before enrolling the program and higher than the comparison group at p-value .05. Body mass index and mean arterial pressure of the experimental group was significantly lower than before enrolling the program and lower than the comparison group at p-value .05.These results showed that people who participated in the Health Literacy Developmental Program in a Pre-hypertension Group with Overweight can changes in prevention behaviors for pre-hypertensionrisk individuals. Therefore, this program could be further applied to other work places to reduce hypertension risk behaviors.

References

ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2558). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องประวัติการศึกษาพิเศษ. วารสารการวิจัยและพัฒนาการศึกษา,ปีที่ 4 ฉบับที่ 1, 11-20.
บุญชู เหลิมทอง. (2553). ผลของการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงกองทัพอากาศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
ปุณยวีร์ ประเสริฐไทย. (2553).ผลของการออกกำลังกายขนาดความหนักปานกลางที่บ้านในการลดความดันโลหิตของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตเกือบสูง.วารสารสภาการพยาบาล, 25(4), 80-94.
รัตนาพร พัฒนะโชติ. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมต่ำในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). อัตราป่วยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ17 กรกฎาคม 2561,จาก http://lpg.hdc.moph.go.th
วาริน โฆศิริมงคล. (2557). ผลของโปรแกรมการฝึกหายใจอย่างช้าต่อระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วิชัย เอกพลการ. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557.นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
ศักดิ์ชาย ควรระงับ. (2555). กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวของบุคลากร ของมหาวิทยาลัยพายัพ.Nursing Journal, 41(1), 85-95.
สุรีย์ ธรรมิกบวร. (2541). การพยาบาลองค์รวมกับ ศิลปะการพยาบาล.วารสารวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 1(13), 16-20.
สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2558). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยการแพทย์ผสมผสาน. นนทบุรี: สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเล่มที่ 4.กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
Anderson, L.W. &Krathwohl, D.R. (2001).A Taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s Taxonomy of Education Objectives. (Complete edition). New York: Longman.
Antonio, H. L., Steven, W. K., & Jonathan, D. W. (2009). Encoding of gustatory working memory by orbitofrontal neurons.Journal Neurosci, 29(3), 765-774.
Bloom, B. S. (1971).Hand Book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning.
New York: Graw-Hill Book Company.
Chin, J., Morrow, D. G., Stine-Morrow, E. A., Conner-Garcia, T., Graumlich, J. F., & Murray, M. D. (2011). The process-knowledge modelof health literacy: evidence from a componentialanalysisof two commonly used measures.Journal of Health Communication, 16(sup3), 222-241
Ekstrom, R. B., French, J. W., Harmon, H. H., &Dermen, D. (1976).Manual for the kit
of factor-referenced cognitive tests. Princeton, NJ: educational testing service.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power
analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
Houts, P. S., Witmer, J. T., Egeth, H. E., Loscalzo, M. J., &Zabora, J. R. (2001).Using pictographs to enhance recall of spoken medical instructions II.Patient education and counseling, 43(3), 231-242.
Kim, K. B., Han, H. R., Huh, B., Nguyen, T., Lee, H., & Kim, M. T. (2014).The effect of a community-based self-help multimodal behavioral intervention in Korean American seniors with high blood pressure.American journal of hypertension, 27(9), 1199-1208.
Picture me reading. (2011). Internet Special Education Resources Special Education & Learning Disabilities Resources: A Nationwide Directory. Retrieved July 14, 2018. from https://www.iser.com/picturemereading.html
World Health Organization.(2014). Global Status Report on noncommunicable diseases 2014. 20 Avenue Appia, 1211 Geneva 27, Switzerland: World Health Organization.
Yoshida, Y., Iwasa, H., Kumagai, S., Suzuki, T., & Yoshida, H. (2014). Limited functional health literacy, health information sources, and health behavior among community-dwelling older adults in Japan.ISRN Geriatrics.

Downloads

Published

2019-06-10

How to Cite

วรรณประเสริฐ ศ. (2019). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน. Journal of Nursing and Health Research, 20(2), 92–104. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/159796