การศึกษาภาวะสุขภาพจิตและระดับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล : กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • Chonglak Taveekaew Boromrajonani College of Nursing Sanpasithiprasong
  • Wichittra Chitrak Boromrajonani College of Nursing Sanpasithiprasong
  • Chanukorn Kaewmanee Boromrajonani College of Nursing Sanpasithiprasong
  • Numfon Srisen Boromrajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

Keywords:

ภาวะสุขภาพจิต, ความแข็งแกร่งในชีวิต, นักศึกษาพยาบาล, Mental health, Resilience, Nursing student

Abstract

นักศึกษาพยาบาลเป็นกลุ่มคนที่มีระดับความเครียดทางวิชาการที่สูงเนื่องจากรูปแบบการเรียน และการใช้ชีวิตในหอพัก ภาวะสุขภาพจิตและความแข็งแกร่งในชีวิตเป็นปัจจัยที่สำคัญในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การวิจัยแบบบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล  และ 2) ระดับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2558  จำนวน  600 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดสุขภาพจิตคนไทยจำนวน 70  ข้อ แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิตจำนวน 28  ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาผลการวิจัยพบว่า ปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษา เกิดจากผลเชื่อมโยงจากความเจ็บป่วยทางกาย มากที่สุด (ร้อยละ 31.50) รองลงมาคือด้านความวิตกกังวล (ร้อยละ 16.66) และน้อยที่สุดคือด้านการทำหน้าที่ทางสังคม (ร้อยละ 4.50) คะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 117.79 (SD ± 10.54) ความแข็งแกร่งในชีวิตด้านที่สูงสุดคือ คะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิตด้าน I am ( ฉันเป็น...) 42.29 (SD ± 4.01)  รองลงมาคือ คะแนนเฉลี่ย ด้าน   I have ( ฉันมี...) 38.78 (SD ± 3.63)  และ คะแนนเฉลี่ย ด้าน I can (ฉันสามารถที่จะ...) 36.33 (SD ± 3.77) 

ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตและพัฒนารูปแบบเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลต่อไป

Mental health and Resilience in Nursing Students: Case study of a nursing college in the northeast.

 

Nursing students experience higher levels of academic stress than those of other disciplines, resilience and positive coping strategies can resist stress. However, the mental health and resilience remains inadequate study in nursing students. The purposes of the study were to study 1) mental health and 2) resilience in nursing students.The descriptive research was conducted. Participants were 600 undergraduate nursing students, a College of Nursing at North-eastern of Thailand in 2015. Research tools were a questionnaire of demographic data, mental health questionnaire (70 items), and Resilience Inventory (28 items). Data analysis were descriptive.The findings revealedthatmental health domains were the Somatization (31.50%), anxiety (16.66%) and social function (4.50%). The mean score of resilience was 117.79 (SD ±10.54), the highest average was I am…as (42.29, SD ± 4.01), I have… as (38.78, SD ± 3.63) and     I can… as (36.33, SD±3.77). The results of this study can be used further to promote mental health and resilience strengthen of nursing students.

Author Biographies

Wichittra Chitrak, Boromrajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

สถานที่ปฏิบัติงาน  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

Chanukorn Kaewmanee, Boromrajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

สถานที่ปฏิบัติงาน  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

Numfon Srisen, Boromrajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

พยาบาลศาสตบัณฑิต 

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สถานที่ปฏิบัติงาน  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

References

จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, สายใจ พัวพันธ์ และดวงใจ วัฒนสินธิ์. (2558).ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิต ของนักศึกษาพยาบาล.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา,23(3).1-13
ณัฐวุธ แก้วสุทธา,ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน,และ วิกุล วิสาลเสสถ์. (2557),ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่สัมพันธ์ในนิสิตทันตแพทย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี),6(11).16-24
พัชรินทร์ นินทจันทร์.( 2558).ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิทยะศุภร, และพิสมัย อรทัย (2554)ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต,25(1).1-13
พัชรินทร์ นินทจันทร์, พิศสมัย อรทัย,และพูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์. (2557) การทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว ความแข็งแกร่งในชีวิตและสุขภาพจิต.รามาธิบดีสาร, 20(3).401-414.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และจริยา วิทยะศุภร. (2556). ความแข็งแกร่งในชีวิตเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจและสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 2(7), 12 - 26
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนาทวีคูณ. (2555). โปรแกรมการสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต (A resilience-enhancing program). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
มณี อาภานันทิกุล, พรรณวดี พุธวัฒนะ, และ จริยา วิทยะศุภร (2554)ภาวะสุขภาพและการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลไทย .วารรสารสภาการพยาบาล ,26( 4).123-136
วารีรัตน์ ถาน้อย, อาทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, และ ภาศิษฏา อ่อนดี(2555).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารสภาการพยาบาล, 27 (ฉบับพิเศษ). 60-76
อิศรา สุขศรี ,พัชรินทร์ นินทจันทร์และ ทัศนา ทวีคูณ(2559).ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตกับภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมก้าวร้าวในวัยรุ่นที่เผชิญเหตุการณ์รุนแรง.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต,30(2).97-112
Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. The Bernard Van Leer Foundation.
Thomas, L.J. & Revell, S.H. (2016). Resilience in nursing students: An integrative review. Nurse Education Today. 36. Retrieve from: https://www.nurseeducationtoday.com
World Health Organization.(2014). Mental Health Atlas 2014.

Downloads

Published

2019-06-10

How to Cite

Taveekaew, C., Chitrak, W., Kaewmanee, C., & Srisen, N. (2019). การศึกษาภาวะสุขภาพจิตและระดับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล : กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Nursing and Health Research, 20(2), 60–68. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/181441