ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพ การพยาบาล ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Authors

  • ธานี กล่อมใจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ทักษิกา ชัชวรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • สมัยพร อาขาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

ประสิทธิผล, การจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลอง, หมวดวิชาชีพการพยาบาล, effectiveness, Simulation-Based Learning, professional nursing subjects category

Abstract

การเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นต่อการเรียน มีแรงจูงใจในการแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพมาก  การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาล ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา  โดยการสอบถามอาจารย์พยาบาล จำนวน   45  คน และนักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา  ชั้นปีที่ 2, 3 และ 4  ที่ผ่านการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาล  จำนวน   280  คน  ด้วยแบบสอบถามสำหรับอาจารย์  มี  3 ตอน  ประกอบด้วย

ตอนที่ 1  ข้อมูลส่วนบุคคล  ตอนที่ 2   การบริหารจัดการการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองของผู้บริหาร

 และ ตอนที่  3 ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพ  และแบบสอบถามสำหรับนักศึกษา ประกอบด้วย  2  ตอน  คือ  ตอนที่ 1  ข้อมูลส่วนบุคคล  ตอนที่ 2   ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพ  ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่า IOC 0.76-1  ค่าความเที่ยงตรงชุดที่ 1  เท่ากับ  0.89  และ 0.91  และชุดที่  2  เท่ากับ  0.94 

วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติ  Independent  t-test และ  Chi-square  ผลการวิจัย พบว่า  การบริหารจัดการการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของอาจารย์ อยู่ในระดับปานกลาง(gif.latex?\bar{x}= 3.43, SD = 0.23 )  ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาลของอาจารย์ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก(gif.latex?\bar{x}= 3.74, SD = 0.11 )  ส่วนความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า ภาพรวมของประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาล อยู่ในระดับมาก(gif.latex?\bar{x}= 4.28, SD = 0.05)  ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองตามความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษา  พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นของนักศึกษามากกว่าของอาจารย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00  ผลการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาลของอาจารย์ พบว่า ตำแหน่งการทำงาน  สังกัดกลุ่มการสอน  และการบริหารจัดการการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองของผู้บริหาร มีความเกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  สำหรับผลการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษา พบว่า  อายุ และชั้นปีการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพการพยาบาลมีประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการของผู้บริหารเป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพของการเรียนการสอน  ดังนั้นผู้บริหารควรตระหนักถึงบทบาทในการบริหารจัดการในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

Factors related to the effectiveness of Simulation-Based Learning management  in the professional nursing subjects category used by  Boromarajonani College of Nursing, Phayao

Simulation-Based Learning (SBL) is one of the teaching methods that promote students to be the enthusiastic learners and increase their learning motivation in seeking knowledge. This research is aimed to explore the effectiveness of SBL management in the professional nursing subjects category and to identify factors related to SBL management used by Boromarajonani College of Nursing, Phayao.  Participants were 45 nursing instructors and 280 nursing students who are studying year 2nd, 3rd and 4th and had the experience of learning through SBL. Research questionnaires for nursing instructors composed of three parts:  demographic data, SBL management by the administrators and the opinion on the effectiveness of SBL management. Whereas; research questionnaires for students composed of two parts: demographic data and the opinion on the effectiveness of SBL management. Research tools were approved by the experts with IOC 0.76-1 and the reliability of questionnaire for nursing instructors were 0.89  and 0.91;  the reliability of questionnaire for students was 0.94.  Data were analyzed using descriptive statistic such as frequency, percentage, mean and standard deviation. Independent t-test and Chi-square were used to test the factors related to SBL management.  Findings revealed that the nursing instructors opinion on the management of SBL by administrators was at medium level (gif.latex?\bar{x}= 3.43, SD = 0.23); whereas, their opinion on the effectiveness SBL management in the professional nursing subjects category was at a high level (gif.latex?\bar{x}= 3.74, SD = 0.11).  Also, the student opinion on the effectiveness SBL management in the professional nursing subjects category was at a high level (gif.latex?\bar{x}= 4.28, SD = 0.05). It found that nursing students had significant higher score of opinion on the effectiveness SBL management than nursing instructors (p-value = 0.000). In addition, there were three factors significant related to the effectiveness of SBL management from the nursing instructors opinion: working position, teaching group, and SBL management by the administrators.  Two factors significant related to the effectiveness of SBL management from the nursing students opinion:  age and their year level. It can be seen that SBL  management in the professional nursing subjects category used by  Boromarajonani College of Nursing, Phayao was effective and the management from the administrators is one of significant factors in order to promote the quality of nursing education.   

References

จิราภา เพียรเจริญ.(2556). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามหลักสูตร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ดวงกมล หน่อแก้ว.(2558). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงทางพยาบาลศาสตร์ศึกษา. วารสาร
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ. ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พลพันธ์ บุญมากุ และสุหัทยา บุญมากุ. (2013). Medical simulation the way to improve patient care.
Srinagarind Med. 28 (suppl): 80-85.
วิภาดา คุณาวิกติกุล 2558การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในยุคศตวรรษที่ 21พยาบาลสารปีที่ 42
ฉบับที่2 เมษายน-มิถุนายน 152-156.
สายสมร เฉลยกิตติพรนภา คำพราวสมพิศ พรหมเดช . (2557). ความปลอดภัยของผู้ป่วยกับคุณภาพ
บริการพยาบาล วารสารพยาบาลทหารบก. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (พ.ค. - ส.ค.), 66-70
อนัญญา คูอาริยะกุล. (2560). การประเมินผลการเรียนรู้ในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัย
พยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม , 179-187
Astin, A.W. (1993). What matter in College?.Sanfrancisco: Jossy-Bass:4-7.
Cato, M. L. (2013). Nursing student anxiety in simulation setting: A mixed methods study. Dissertations
and Theses. Portland State University.
Chiang, V. C. L., & Chan, S. S. C. (2014). An evaluation of advanced simulation in nursing : A mixed
method study. Collegian, 21: 257-265.\
Jeffries, P. R. (2012). Simulation in nursing education: From conceptualization to evaluation (2nd
ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins.
Harre deBoer (2009). The Changing Nature of the Academic Deanship Leadership.Higher Education. 5,
347-364.
Hick, F. D., Coke, L., & Li, S. (2009). The effect of high-fidelity simulation on nursing students’
knowledge and performance: A pilot study. National Council of State Boards of Nursing, 40:
1-27.
Howley, L.D. (2013). Standardized Patients. In A.I. Levine et al. (Eds.), The Comprehensive Textbook
of Healthcare Simulation, (pp. 173-190). Retrieved July 6, 2018, from doi: 10.1007/978-
1-4614-5993-4_13, © Springer Science + Business Media New York.
OntipaSongsiri. (2002). Criteria of Clinical Competency Evaluation in Nursing Students.Ph.D Thesis,
SrinakharinwirotUniversity. (in Thai)
Rourke L, Schmidt M, Garga N. (2010).Theory-based research of high fidelity simulation use in
nursing education: A review of the literature. International Journal Nursing Education
Scholarsh, 7(1): 1-14.
Pasquale, S.J. (2013). Education and Learning Theory. In A.I. Levine et al. (Eds.), The Comprehensive
Textbook of Healthcare Simulation, (pp. 51-55). Retrieved July 6, 2018, from doi:
10.1007/978-1-4614-5993-4_3, © Springer Science + Business Media New York.
Smith, S. J., &Roehrs, C. J. (2009). High-fidelity simulation: Factors correlated with nursing
student satisfaction and self-confidence. Nursing Education Perspectives, 30(2): 74-78.
Waxman, K.T. (2010). The development of evidence-based clinical simulation scenarios :
Guidelines for nurse educators. Journal of Nursing Education , 49(1): 29-35.

Downloads

Published

2019-05-26

How to Cite

กล่อมใจ ธ., ชัชวรัตน์ ท., & อาขาล ส. (2019). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองในหมวดวิชาชีพ การพยาบาล ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. Journal of Nursing and Health Research, 20(2), 3–15. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/188303