ผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ระดับปานกลางและรุนแรงต่อการเกิดแผลกดทับ และภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

Authors

  • อุบลรัตน์ วิสุทธินันท์ โรงพยาบาลพะเยา
  • กฤตพัทธ์ ฝึกฝน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ, แผลกดทับ, ภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ, Nursing guidelines, head injury patients, pressure ulcer, ventilation associated pneumonia

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลางและรุนแรงต่อการเกิดผลกดทับและภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย  โรงพยาบาลพะเยา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบเก็บข้อมูลผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 1 ชุด การวิจัยแบงออกเป็นสองระยะคือ ระยะก่อนใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ และระยะที่ 2 คือระยะหลังใช้แนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติเกิดภาวะแทรกซ้อนแผลกดทับ (ร้อยละ 28.0) มากกว่ากลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติ (ร้อยละ 8.0) และกลุ่มตัวอย่างก่อนใช้แนวปฏิบัติเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ร้อยละ 14.0) มากกว่ากลุ่มหลังใช้ ร้อยละ (0.0) เมื่อเปรียบเทียบการเกิดภาวะแทรกซ้อนแผลกดทับและเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในกลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า  การนำแนวปฏิบัติมาใช้ทำให้เกิดการลดลงของภาวะแทรกซ้อนแผลกดทับและปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ  จึงควรนำแนวปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่น เพื่อให้ทีมสหสาขาวิชาชีพสามารถดูแลผู้ป่วยได้เป็นแนวทางเดียวกันซึ่งจะทำให้การรักษาพยาบาลมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

Effects of Clinical Practice Guidelines for Patients with Moderate and Severe Head Injury on Incidence of Pressure Ulcer and Ventilation Associated Pneumonia

The objective of this quasi-experimental research was to study the effects of the developed nursing care for patients with moderate and severe head injury on pressure ulcer and ventilation associated pneumonia (VAP). The samples were 100 moderate and severe head injury patients admitted at male surgical department of Phayao  Hospital. Data collection divided into 2 phases: 1) pre-implementation of the developed nursing guideline for head injury patients or control group and 2) post-implementation the nursing guideline for head injury patients or experimental group. Research instruments were the nursing guideline developed by the researcher validated by the experts and the instruments for collecting data. Data were analyzed by using descriptive and differential statistics.

The results showed that the participants in the pre-implementation phase had higher pressure ulcer rate (28%) than the participants in the post-implementation group (8%). Also, the study found that the participants in the pre-implementation phase had higher VAP rate (14%) than the participants in the post-implementation group (0%). The results found that there were significant difference of pressure ulcer and VAP rates between pre- and post-implementation of the nursing guideline (p<.05)

The results of this study recommended that a health care team should apply the nursing guideline appropriately for improving nursing outcomes in nursing of patients with head injury.


Downloads

How to Cite

วิสุทธินันท์ อ., & ฝึกฝน ก. (2016). ผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ระดับปานกลางและรุนแรงต่อการเกิดแผลกดทับ และภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ. Journal of Nursing and Health Research, 17(3), 33–41. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/72349