การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การดูดเสมหะ” สำหรับนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • ลักขณา ศิรถิรกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • ดารินทร์ พนาสันต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

Keywords:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนักศึกษาพยาบาล, computer assisted in instruction(CAI), nursing students

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การดูดเสมหะ”สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การดูดเสมหะ” และ 3) ศึกษาระดับความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การดูดเสมหะ” กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ชั้นปีที่ 2จำนวน 30 คน โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) ด้วยวิธีการจับฉลากกลุ่มเรียนเก่ง กลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อน กลุ่มละเท่าๆ กันเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย  1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบมีโครงสร้างด้านเนื้อหาและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การดูดเสมหะ” 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การดูดเสมหะ” 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง “การดูดเสมหะ” จำนวน 20 ข้อและ 4) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การดูดเสมหะ”จำนวน 15 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่(frequency) ร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) และค่าสถิติทดสอบที (paired t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การดูดเสมหะ”  สำหรับนักศึกษาพยาบาล เท่ากับ80/83)นักศึกษาพยาบาลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง“การดูดเสมหะ”หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักศึกษาพยาบาลมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง“การดูดเสมหะ”เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด(\bar{x}=4.55,SD=.39 2) ข้อเสนอแนะควรจะนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง“การดูดเสมหะ”ไปใช้ในการเรียนการสอนในนักศึกษาพยาบาล

A Development Of Acomputer Assisted Instruction On Suction For Nursing Students

The purpose was : 1) develop and determine the efficiency of computer assisted in instruction on suction for nursing students, 2) compare pre-post achievement of nursing students by computer assisted in instruction on suction, and 3) determine the nursing students’ opinion level on computer assisted in  instruction on suction. The samples were 30 nursing students ,second level at Boromarajonani College of Nursing SuphanBuri and sampling random by lottery from high moderate and low grade. The instrument used for gathering data were :1)structure interview experts’ opinion about content and technology of computer assisted in instruction, 3 items,      2) computer assisted in  instruction on suction, 3) achievement test on suction, 20 items, and 4) opinion naires’nursing students on computer assisted in instruction on suction, 15 items. The data were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and paired t-test. The results were following : 1) the efficiency of computer assisted in instruction on suction for nursing students was 80/83.5 (E1/E2),2) the nursing students were significantly post higher than pre-achievement at the level of .01 (p<.01), and 3) the nursing students have agree with mostopinion level of computer assisted in instruction on suction. Suggestion, should be computer assisted in instruction on suction to the teaching of nursing students .

Downloads

How to Cite

ป้องเจริญ จ., ศิรถิรกุล ล., & พนาสันต์ ด. (2016). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การดูดเสมหะ” สำหรับนักศึกษาพยาบาล. Journal of Nursing and Health Research, 17(3), 93–105. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/72411