พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด

Authors

  • สินีนาฏ เนาว์สุวรรณ โรงพยาบาลสิงหนคร จังหวัดสงขลา
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา

Keywords:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคหืด, Self Care Behavior, Asthma

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองอายุ การมาพบแพทย์ตามนัด ความสม่ำเสมอของการใช้ยา และการมีผู้ดูแลของผู้ป่วยโรคหืด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหืดที่มารับบริการในคลินิกโรคหืด โรงพยาบาลสิงหนคร  จังหวัดสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 128 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีหยิบฉลากแบบไม่คืนที่ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติt- testผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหืดในคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลสิงหนครจังหวัดสงขลาพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( \inline \bar{x}\bar{X}= 2.12, S.D. = 0.46)  2) ผู้ป่วยโรคหืดที่มีผู้ดูแลต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ป่วยโรคหืดที่มีผู้ดูแล        มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลตนเอง ( \bar{X}= 2.17, S.D. = 0.42) สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคหืดที่ไม่มีผู้ดูแล ( \bar{X}= 1.84, S.D. = 0.55) สำหรับตัวแปรด้านอายุ การมาพบแพทย์ตามนัด และความสม่ำเสมอของการใช้ยา     มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่แตกต่างกันควรสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหืด ตลอดจนควรส่งเสริมให้ญาติบุคคลในครอบครัวมีความรู้และมีส่วนร่วมในการรักษาโรคหืดอย่างต่อเนื่อง

Self - Care Behaviors of Patients with Asthma

This descriptive research aimed to study self-care behaviors, age, follow up, medication adherence and having caregivers of patients with asthma. Samples were 128 patients diagnosed with asthma attending asthma clinic, Singhanakhon hospital, Songkhla province.The sample size was determined using G power program with sampling without replacement method. Instruments used for data collection were demographic recording form and self-care behavior questionnaire that was validated by a panel of three experts and tested for reliability by Alpha Cronbach’ s Coefficient with value of .83. Data were analyzed using frequency, percent, mean, standard deviation and t-test. Results were as follows;  1) Overall, self-care behaviors of patients with asthma, Singhanakhon hospital, Songkhla province were at a high level ( \bar{X}= 2.12, S.D. = 0.46).    2) Patients with asthma having caregivers had higher mean score of self-care behaviors than that of those without caregivers ( \bar{X}= 2.17, S.D. = 0.42 VS = 1.84, S.D. = 0.55). For variable of age, follow up, and medication and inhaler uses, it was found that self-care behaviors were not different. The findings recommended that group of caregivers as well as family members of patients with asthma should be provided with knowledge and encouraged to involve in continuous asthma management.  

Downloads

How to Cite

เนาว์สุวรรณ ส., & เนาว์สุวรรณ ก. (2017). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด. Journal of Nursing and Health Research, 18(1), 28–38. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/83915