สถานการณ์การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่ลูกจ้างในสถานประกอบการเขตภาคเหนือตอนล่าง

Authors

  • ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
  • พรรณทิภา บัวคล้าย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
  • ศิริกนก กลั่นขจร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
  • ปริญญาพร จันทร์ศรี โรงเรียนบ้านคลองน้ำไหลใต้ จ.กำแพงเพชร

Keywords:

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, การสนับสนุน, ลูกจ้าง, สถานประกอบการ, breastfeeding, support, employee, workplace

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาสถานการณ์การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในสตรีวัยทำงานในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย โดยประเมินการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสถานประกอบการระดับผู้บริหารจำนวน 100 ราย โดยการสุ่มแบบแบบแบ่งชั้น โดยกำหนดให้มีผู้บริหาร     ทุกลักษณะของสถานประกอบการ ส่งการประเมินออนไลน์ทางอิเล็คทรอนิคส์เมลล์ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ลักษณะทั่วไปของสถานประกอบการ และการจัดแหล่งสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการส่วนที่สอง  แบบสอบถามการสนับสนุนของนายจ้างสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นมาตราประเมินค่า พัฒนาโดย Rojjanasrirat  (2008) โดยใช้เทคนิคการแปลเครื่องมือวิจัยแบบแปลย้อนกลับ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ราย เท่ากับ 0. 88 และทดสอบเครื่องมือวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 30 ราย ค่าความเชื่อมั่น0.82 หลังจากนั้นพัฒนาเป็นแบบประเมินออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Google Form ส่งให้ผู้รับผิดชอบที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการลูกจ้างผู้บริหารองค์กรที่มีสมาชิกหรือลูกจ้างที่อยู่ในสถานะแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งในสถานประกอบการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และโรงงานอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่า การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่ลูกจ้างมีผลอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 4.47-5.06 นอกจากนี้การจัดการเกี่ยวกับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ควรดำเนินการ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สถานประกอบการมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสนับสนุนอุปกรณ์และจัดพื้นที่สำหรับลูกจ้างที่มีความต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในขณะที่ต้องมาทำงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว

Breastfeeding Support Situation Among Employee in Workplaces
in Lower Northern Area

The purpose of this descriptive research was to study breastfeeding support and factor among women employee in lower northern area in Thailand. The 100 informants were selected by stratified random sampling and they were evaluated breastfeeding supports in workplaces via E-mail. The research instruments included the characteristics and breastfeeding support in workplace and the EMPLOYERS’ SUPPORT FOR BREASTFEEDING QUESTIONNAIRE (ESBQ) was rating scale questionnaire crated by Rojjanasrirat (2013)and it was translated research instrument process.  ESBQ was validated by 5 experts (0.88) and the acceptable reliability (0.82) was tested by 30 samples. This research instrument was developed in Google form; then, this questionnaire sent to responsible people of breastfeeding support in workplaces directly. The results of this study presented that all aspect of breastfeeding support in this part was average levels ( \bar{X}= 4.47-5.06). According to this information, the workplaces did not provide breastfeeding support to employeeexclusively. Therefore, they would like to meet successful organizations of breastfeeding support;the responsible people should follow the breastfeeding in workplace policy rigorously.

Downloads

Published

2017-08-10

How to Cite

ฤทธิ์โพธิ์ ป., บัวคล้าย พ., กลั่นขจร ศ., & จันทร์ศรี ป. (2017). สถานการณ์การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่ลูกจ้างในสถานประกอบการเขตภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Nursing and Health Research, 18(2), 47–54. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/95912