รูปแบบการพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด สำหรับมหาชนของสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • นันทรัตน์ ศรีวชิรางกูร สถาบันพระบรมราชชนก สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชน,, สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่1 เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหา ความต้องการ ใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนของสถาบันพระบรมราชชนก โดยวิธีการสำรวจข้อมูลจากแบบสอบถามสภาพการดำเนินงาน ปัญหา และ ความต้องการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสารสนเทศ อาจารย์ผู้สอน และผู้ดูแลระบบสารสนเทศวิทยาลัยในสังกัด จำนวน 39 วิทยาลัย ระยะที่2 เพื่อพัฒนารูปแบบ การพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนของสถาบัน พระบรมราชชนกโดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group)และจากการประชุม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน12 ท่าน และระยะที่3 เพื่อประเมินรับรองความเหมาะสมของรูปแบบ โดยใช้แบบประเมินรับรองความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันพระบรมราชชนกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.59, S.D.= 0.84) ปัญหาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.57, S.D.= 0.88) และความต้องการด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาพรวมอยู่ในระดับมาก(Mean = 3.62, S.D.= 0.86) 2) ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือ การบริหารระบบ และการให้บริการ การบริหารจัดการ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การสอน และผลการเรียนรู้และมี 20 องค์ประกอบย่อย 3) ผลการประเมินรับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่ารูปแบบมีความสอดคล้องและเหมาะสมในการนำไปใช้ ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.67, S.D. = 0.47)

References

ชนินทร์ ตั้งพานทอง. ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

สถาบันพระบรมราชชนก. แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ปี พ.ศ.2559-2563. สถาบันพระบรมราชชนก; 2562.

ณฐภัทร ติณเวส. รูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 26 มี.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก:http://www.mdes.go.th.Digital%20.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 26 มี.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mua.go.th/assets/img/pdf/HEPlan_book.pdf

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. Thai MOOC: การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://web.sut.ac.th

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicyberu.go.th

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. MOOC ห้องเรียนออนไลน์แห่งศตวรรษที่ 21-รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.gscm.nida.ac.th/~chutisant/index_th.html.

ทัศนีย์ แซ่ลิ้ม. Thai MOOC ก้าวสำคัญของการศึกษาเพื่อคนทุกคน [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/332/Thai-MOOC-.

สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์และทักษิกา ชัชวรัตน์. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27:113-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-08