พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ลักขนา ชอบเสียง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • สมฤทัย ซอนภา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • สรินยา สมชัย
  • สาริน เลิศแสนสิน
  • สิริยาภรณ์ ภูอวด
  • สุดารัตน์ ศิริบูรณ์
  • สุนิษา บุญสาร
  • สุภาพร มีแก้ว
  • สุวนันท์ บุญศรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยง, ภาวะไตเสื่อม, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อม ข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อม โดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและหาความเที่ยงด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอน บาคมีค่าเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยจำนวน 54 คน (ร้อยละ 52.90) และมีความเสี่ยงในระดับปานกลางจำนวน 48 คน (ร้อยละ 47.10)  เมื่อพิจารณาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมรายด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด มีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คือพฤติกรรมการออกกำลังกาย (Mean = 1.64, S.D.= 0.89) พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร (Mean = 1.52, S.D. = 0.72) และพฤติกรรมด้านอารมณ์ความเครียด (Mean = 1.27, S.D.= 0.76) ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดมีความเสี่ยงในระดับน้อย

คือพฤติกรรมด้านการสูบบุหรี่ (Mean = 0.07, S.D. = 0.43) พฤติกรรมการรับประทานอาหารเสริม (Mean = 0.33, S.D. = 0.53) และพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Mean = 0.39, S.D. = 0.57) ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงที่ปฏิบัติเป็นประจำร้อยละ 34.30 ได้แก่การดื่มชา กาแฟ และครีมเทียม รองลงมาคือ การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเช่น นม เนย ถั่ว ไข่ เนื้อสัตว์ ที่ร้อยละ 28.40

ผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพของบุคลากร รวมทั้งทราบถึงระดับของพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ดีเพื่อนำไปสู่การรับรู้และการวางแผนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมทำให้องค์กรมีการพัฒนาแนวปฏิบัติของบุคลากรให้มีสุขภาพที่ดีส่งผลต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Author Biography

ลักขนา ชอบเสียง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ลักขนา ชอบเสียง. (2558). การจัดการตนเองและครอบครัวผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา,  16(3), 2-12.

สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, อรุณศรี ผลเพิ่ม, ญาณี แสงสาย, ลักขนา ชอบเสียง. 2557. Nursing Student’s Experience in Caring For Dying Patienis . เอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceeding) Nakhon Phanom National and International Conference in Healthcare (NPNICH) 1st ณ Nakhon Phanom University, Thailand July 7 -10 , 2014 Page 68 – 77.

จรูญศรี มีหนองหว้า, สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, ลักขนา ชอบเสียง, จตุพร จันทะพฤกษ์, ภควรรณ ตลอดพงษ์, ไวยพร พรมวงศ์. 2557. การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้แบบบันทึกการสะท้อนคิดในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลสาหรับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 และ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพ สิทธิประสงค์. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceeding) ในการประชุมใหญ่และนาเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ เรื่อง สห วิทยาการ : ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสู่ ประชาคมอาเซียน multidisciplinary on cultural Diversity Towards the ASEAN Community ระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2557

หน้า 1511-1512 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ อ.เมือง จ.ตรัง.

จรูญศรี มีหนองหว้า(Jaroonsree Meenongwah), ดร.พรรณทิพา แก้วมาตย์(Puntipa Kaewmataya), เยาวเรศ ประภาษานนท์(Yaowaret Prapasanon), อุดมวรรณ วันศรี(Udomwan Wansri),

 ไวยพร พรมวงศ์(Waiyaporn Promwong), ลักขนา ชอบเสียง (Lukana Chopsiang), กุลธิดา กุลประฑีปัญญา(Kulthida Kulprateepanya). 2557. The Study of Needs of Knowledge Related to Food and Nutrition Resources of Community in Thailand: A Case Study of Ubon Ratchathani Province. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ 18th World Congress on Clinical Nutrition (WCCN) "Agriculture, Food and Nutrition for Health and Wellness" Ubon Ratchathani, Thailand, December 1-3, 2014.

พรรณทิพา แก้วมาตย์, กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, จรูญศรี มีหนองหว้า, ลักขนา ชอบเสียง, ภาวิณี แววดี, การประเมินผลการดำเนินเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System) เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 10  นำเสนอโปสเตอร์  ในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 6th International Conference on Public Health among the Greater Mekong Sub-Regional Countries

(6th ICPH-GMS: 2014) ระหว่างวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2557 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์คอนเวนชั่นขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 

สุนันท์  แมนเมือง, ลักขนา ชอบเสียง, ชุลีพร  ตวนกู. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี, วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2550;1(2) : 174-181.

(ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค. – ก.ย. (ฉบับเสริม 1))

References

1.ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารการแพทย์ 2558;40:5-19.

2.Jha V, García-García G, Iseki K, Li Z, Yang CW. Chronic kidney disease: global dimension and perspectives. The Lancet 2013;382:260-72.

3.กล้าเผชิญ โชคบำรุง. แบบประเมินระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อม.วารสารพยาบาลและสุขภาพ 2555;35:9-7.

4.มณีรัตน์ จิรัปปภา. การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2554;20:5-16.

5.Yen M, Huang JJ, Teng HL, Education for patients with chronic kidney disease in Taiwan: a prospective repeated measures study. J Clin Nurs 2008;17:2927-34.

6.ภทรพรรณ อุณาภาค, ขวัญชัย รัตนมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2558;10:44-54.

7.สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. โครงการป้องโรคไตเรื้อรังของสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. กรุงเทพฯ:โรงพยาบาลโรคไตภูมิราชนครินทร์; 2556.

8.สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. กลเม็ดเคล็ดลับ ทำอย่างไรไตไม่วาย. กรุงเทพฯ:สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์การเภสัชกรรม; 2556.

9.สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง. กรุงเทพฯ:สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2560.

10.กล้าเผชิญ โชคบำรุง. การศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังกรณีศึกษาในพื้นที่เขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2556;36:57-65.

11.Hayden S. The Neuman Systems Model (5th ed.) by B. Neuman and J. Fawcett (Upper Saddle River, NJ: Pearson, 2011). Nursing Science Quarterly 2012;25:378-80. doi: 10.1177/0894318412457067

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-20