ผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

ผู้แต่ง

  • วัชรพันธ์ วงศ์คำพันธ์

คำสำคัญ:

ระยะเวลา, แนวปฏิบัติ, การพัฒนา, การหย่าเครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

การหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนักเป็นประเด็นที่สำคัญในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม หากการหย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สำเร็จย่อมเกิดปัญหาการติดเครื่องช่วยหายใจและภาวะแทรกซ้อนตามมา ดังนั้น การใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนักอาจช่วยลดปัญหาดังกล่าว  วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม (Quasi – Experimental Study) โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจำนวน 30 ราย ที่มีภาวะ การหายใจล้มเหลวและได้รับการรักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ  ณ หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม โดยการวิธีสุ่มการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในหอผู้ป่วยหนักกลุ่มทดลอง มีอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แม้ว่าการทดสอบทางสถิติจะไม่พบความแตกต่างของระยะเวลาในการใช้และหย่าเครื่องช่วยหายใจ (p= .057 และ .13 ตามลำดับ) แต่ทั้งระยะเวลาของการใช้และหย่าเครื่องช่วยหายใจลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งจะแนวทางเบื้องต้นเพื่อการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสมต่อไปสำหรับผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนัก ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

References

1.วนิดา เคนทองดี. โครงการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์: แนวปฏิบัติการพยาบาลในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ [การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

2.Wunderlich, R.J, Perry, A, Lavin, M.A, & Katz, B. Patients’ perceptions of uncertainty and stress during weaning from mechanical; 1999.

3.จิตรศิริ ตันติชาติกุล, วนิดา เคนทองดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจ. วารสารกองการพยาบาล 2556;40:56-69.

4.ยุพา วงศ์รสไตร. แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

5.ฉันชาย สิทธิพันธ์. ภาวะการหายใจล้มเหลว การบําบัดทางระบบหายใจ. ใน: วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. ตําราอายุรศาสตร์ 4. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-20