สัมฤทธิผลของการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวจังหวัดลำพูน ปีงบประมาณ 2561

ผู้แต่ง

  • ธานี ศรีวงค์วรรณ์

คำสำคัญ:

สัมฤทธิผล, คลินิกหมอครอบครัว, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัมฤทธิผลของการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือผู้รับบริการ จำนวน 362 คน จากการสุ่มแบบขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินสัมฤทธิผลของการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว ประกอบด้วยตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป และตอนที่ 2 คุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้ครอนบาคแอลฟา เท่ากับ 0.93 การวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย ตอนที่ 1 การรับรู้การดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว และตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อคลินิกหมอครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิผลของการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวในภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า 1) ด้านการรับรู้การดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวพบว่าผู้รับบริการรับรู้ถึงความหมายของคลินิกหมอครอบครัว รับรู้ว่ามีคลินิกหมอครอบครัวจากการบอกเล่าของบุคคลในครอบครัว และมองเห็นถึงความแตกต่างคลินิกหมอครอบครัวกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแบบเดิม  2) ด้านความพึงพอใจต่อคลินิกหมอครอบครัวพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ด้านคุณภาพการดูแลของทีม อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 48.90) ด้านความเป็นธรรมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 49.40)   ด้านความเป็นกันเอง อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 51.70) และด้านการส่งเสริมศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และคนในครอบครัว อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 44.50) 3) ด้านคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ พบว่าผู้รับบริการส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 47.20) โดยมองว่าโรคประจำตัวเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ยังพอมีเงินเพียงพอใช้จ่ายตามความต้องการต้องพึ่งยาหรือการรักษาอาการ พึงพอใจกับสุขภาพของตัวเอง รู้สึกถึงสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวมีผลดีต่อสุขภาพ

References

1.สมยศ ศรีจารนัย, พิชญาภัสสร์ วรรณศิริกุล, ปารณัฐ สุขสุทธิ์, อรณรินทร์ ขจรวงศ์วัฒนา, สมใจ นกดี. วิจัยประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

2.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, สุภา เพ่งพิศ, สมชาย วิริดิรมย์กุล, นภาพร วาณิชย์กุล, สุชาดา ภัทรมงคลฤทธ, ปนัดดา ปริยทฤฆ, และคณะ. รายงานโครงการวิจัยติดตามประเมินผลนโยบายทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2558.

3.สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, พฤกษา บุกบุญ, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. ผลการสำรวจสถานการณ์การดำเนินงาน และความคิดเห็นต่อนโยบายการพัฒนาทีมหมอประจำครอบครัว. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2558.

4.ยศ ตีรวัฒนานนท์. รายงานการวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ของนโยบายคลินิกหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.

5.เดชา คนธภักดี, นวลฉวี เพิ่มทองชูชัย, ยุพันธ์ จริยะธีรวงศ์, ฐานดา เกียรติเกาะ, นวลพรรณ พิมพิสาร, สุพิชฌาย์ วิชิโต, และคณะ. การรับรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานปฐมภูมิต่อนโยบายคลินิกหมอครอบครัว: ความเข้าใจ ความรู้สึกความคาดหวัง ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2561.

6.ชิตสุภางค์ ทิพย์เที่ยงแท้, กฤษณา เปรมวงค์, ทิพวรรณ ผ่องศิริ. ทีมหมอครอบครัว เห็นทุกข์สร้างสุขด้วยจิตอาสา. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2558.

7.ปิยะ เทพปิยะวงศ์. แนวพัฒนาการดำเนินงานทีมหมอครอบครัวและความพึงพอใจของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลระยะยาว อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขศึกษา 2558;38:17-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-20