การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำผู้แต่ง

วารสารขอความร่วมมือในการเตรียมต้นฉบับดังนี้

1. ต้นฉบับที่จะส่งมาลงพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนนี สุรินทร์ ไม่ควรเป็นเรื่องที่เคยพิมพ์ หรือกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อลงพิมพ์ในวารสารอื่น

2. ต้นฉบับ พิมพ์ส่ง 3 ชุด ด้วยกระดาษขาว A4  ระยะห่างจากขอบทุกด้าน  1 นิ้วหรือ 2.54 เซนติเมตร ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 15 หน้า และให้บันทึกไฟล์เป็นชนิด Word 97-2003 Document (.doc)  พร้อมกับแนบแผ่นซีดีรอม ที่บันทึกข้อมูลต้นฉบับครบถ้วน

         คำแนะนำในการเตรียมและส่งต้นฉบับ

    ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ กำหนดตีพิมพ์วารสารราย 6 เดือน (2 ฉบับต่อปี) ยินดีรับบทความวิชาการ หรือรายงานผลการวิจัยทางการศึกษา ตลอดจนผลงานและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านสุขภาพและการศึกษาพยาบาล โดยเรื่องที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรือ กำลังตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน ทั้งนี้กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน แก้ไขต้นฉบับ และพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง

  1. ประเภทของเรื่องที่ส่งพิมพ์

บทความวิจัย เป็นรายงานผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยของผู้เขียน ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่น ควรประกอบด้วย หัวข้อเรื่องตามลำดับต่อไปนี้ ชื่อเรื่องและบทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ กรอบแนวคิดของการวิจัย(ถ้ามี) ระเบียบวิธีวิจัย  ผลการศึกษา วิจารณ์หรืออภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง ถ้ามีกิตติกรรมประกาศหรือคำขอบคุณให้ระบุไว้ก่อนเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 15 หน้าพิมพ์

บทความวิชาการ เป็นบทความที่เขียนขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการโดยมีการสำรวจวรรณกรรมและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ หัวข้อเรื่องตามลำดับดังนี้ ส่วนนำหรือบทนำ (การนำความที่แสดงเหตุผล หรือที่มีของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์) ส่วนเนื้อหา ส่วนสรุป และเอกสารอ้างอิง

  1. รูปแบบการเขียนและการเตรียมต้นฉบับ

ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่มีความหมายตรงกัน

ชื่อผู้เขียน (Author) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเขียนชื่อ-นามสกุล และคุณวุฒิทางการศึกษาของผู้เขียน เรียงลำดับตามความมากน้อยของการมีส่วนร่วมในการทำงาน และลงอักษรย่อของวุฒิการศึกษาสูงสุด ส่วนตำแหน่งหรือยศ และสถานที่ทำงานพิมพ์ไว้เป็นเชิงอรรถในหน้าแรก

บทคัดย่อ (Abstract)

  ภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 15 บรรทัด โดยย่อเนื้อหาสำคัญที่จำเป็นเท่านั้น ระบุตัวเลขสถิติที่สำคัญ ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์ และเป็นร้อยแก้ว ไม่แบ่งเป็นข้อๆ และมีส่วนร่วมประกอบคือวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ (อย่างย่อ) ไม่ต้องมีเชิงอรรถอ้างอิงถึงเอกสารอยู่ในบทคัดย่อ

                    ภาษาอังกฤษ แปลจากบทคัดย่อภาษาไทย มีขนาดเนื้อหาเหมือนกับบทคัดย่อภาษาไทย

คำสำคัญ (Keywords) เป็นคำหรือวลีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ช่วยให้ผู้อ่านได้สืบค้นงานวิจัยหรือบทความได้ง่ายซึ่งจะใช้ประมาณ 3–5 คำ

บทนำ (Introduction) อธิบายความเป็นมาที่เป็นปัญหาในการทำวิจัย อ้างทฤษฏีและผลการวิจัยสนับสนุน ชี้ให้เห็นความสำคัญของเรื่องที่ทำ และบอกให้รู้ว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร งานวิจัยจะทำสิ่งใด และเพื่อวัตถุประสงค์อะไร

กรอบแนวคิดของการวิจัย (Conceptual framework) (ถ้ามี) ให้ระบุภาพรวมของงานวิจัยว่ามีแนวคิดที่สำคัญอะไรบ้าง มีการเชื่อมโยง เกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งอาจแสดงเป็นแผนภูมิ

ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) อธิบายวิธีการดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงแหล่งที่มีของข้อมูล ประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง วิธีการรวบรวมข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิจัยและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หรือใช้หลักสถิติมาประยุกต์

ผลการวิจัย (Result/Finding) อธิยายสิ่งที่ได้พบจากการวิจัย โดยเสนอหลักฐานข้อมูลอย่างเป็นระเบียบพร้อมแปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์ได้ ซึ่งอาจมีภาพประกอบ แผนภูมิ ตารางหรือภาพ สื่อในลักษณะอื่นๆ ที่เข้าใจได้ง่าย กรณีที่มีตาราง ให้ระบุ ตารางที่... ไว้เหนือตาราง และระบุที่มาไว้ใต้ตาราง ส่วนกรณีที่มีประกอบ ให้ระบุ ภาพที่... ไว้ใต้ภาพ พร้อมระบุที่มา

อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) อภิปรายและอ้างอิงให้เห็นว่าผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐาน หรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ในส่วนใด และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากผลการดำเนินงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ควรบอกข้อจำกัดของงานวิจัยในครั้งนี้และระมัดระวังการเขียนรายละเอียดหรือแสดงความหมายของข้อมูลช้ากับส่วนของของผลการวิจัย

ข้อเสนอแนะ (Suggestion) เขียนบอกให้ทราบว่านำผลงานการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร หรือให้ข้อเสนอแนะประเด็นปัญหาที่เป็นข้อจำกัด หรือที่สามารถปฏิบัติได้สำหรับการศึกษา/วิจัยต่อไป

เอกสารอ้างอิง (Reference) ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในความถูกต้องของเอกสารอ้างอิง การอ้างอิงเอกสารใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association 6 edition)

  1. รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง

การลงเอกสารอ้างอิง ใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) ระบุเฉพาะรายการที่ถูกอ้างอิงในเนื้อหาของบทความเท่านั้น โดยให้เรียงเอกสารภาษาไทยไว้ก่อนภาษาอังกฤษ ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงมีดังนี้

3.1 การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง

เมื่อสิ้นสุดข้อความที่ต้องการอ้างอิง ใส่ชื่อผู้แต่งไม่เกิน 3 คน ปีที่พิมพ์และเลขหน้าไว้ในวงเล็บต่อท้ายข้อความนั้น

กรณีเป็นชื่อภาษาไทยให้ใส่ชื่อและนามสกุล เช่น (เกศินี  จุฑาวิจิตร, 2552, หน้า 20)

กรณีเป็นภาษาอังกฤษใส่เฉพาะนามสกุล เช่น (McCargo, 2002, pp.102-105) (Pratkanis, Breckler, & Greenwald, 1989)

กรณีที่มีผู้แต่งมากกว่า 3 คน ให้เขียนชื่อผู้แต่งคนแรกตามด้วย “et al” หรือ “และคนอื่นๆ” ในการอ้างอิงทุกครั้ง เช่น (Kendall et al., 1990)

3.2 การอ้างอิงท้ายบทความ

3.2.1 หนังสือทั่วไป

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์

เช่น

วิรุณ   ตั้งเจริญ. (2553). พลังวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์.

Strunk, W, & White, E. B. (1979).The elements of style. (3rd ed.). New York: Macmillan.

3.2.2 บทความ/เรื่อง/ตอน ในหนังสือรวมเรื่อง

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ). ชื่อหนังสือรวมเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์, หน้าที่ปรากฏในบทความ). สถานที่พิมพ์ : ผู้จัดพิมพ์.

เช่น

สุปราณี   แจ้งบำรุง. (2546). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน. ใน สุปราณี แจ้งบำรุงและคณะ, บรรณาธิการ. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546. (พิมพ์ครั้งที่ 3, หน้า 21-26). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).

Hammond, K. R., & Adelman, L. (1986). Science, values, and human judgment. In H. R. Arkes & K. R. Hammond (Eds.), Judgement and decision making: An interdisciplinary reader (pp. 127-143). Cambridge: Cambridge University Press.

3.2.3 หนังสือแปล

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือแปล. แปลจาก ชื่อหนังสือต้นฉบับ. (ครั้งที่พิมพ์, ชื่อผู้แปล). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์. เช่น

พาร์กินสัน, ซี บอร์ทโคทและรัสตอมจิ, เอ็มเค. (2536). การบริหารยุคใหม่. แปลจาก Realities In management. (เริงศักดิ์  ปานเจริญ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

3.2.4 วิทยานิพนธ์และดุษฏีนิพนธ์

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีที่วิจัยสำเร็จ). ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญา (ระดับ) ชื่อสาขาวิชา, สังกัดของสาขาวิชา, มหาวิทยาลัย. ถ้านำมาจากฐานข้อมูลอิเลคโทรนิค ให้ใส่หมายเลขฐานข้อมูลไว้ท้ายสุด

เช่น

ประวิต   เอราวรรณ์. (2549). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ดุษฏีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต, สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.

Young, R. F. (2007). Crossing boundaries in urban ecology: Pathways to sustainable Cities (Doctoral dissertation). Available from ProQuest Dissertation & Thesis database. (UMI No. 327681)

3.2.5 รายงานการวิจัย

ชื่อผู้วิจัย. (ปีที่พิมพ์). ชื่อรายงานการวิจัย. (หมายเลขประจำรายงานวิจัย). สถานที่พิมพ์ : ผู้จัดพิมพ์.

เช่น

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัย เรื่อง การสังเคราะห์งานวิจัย เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย : การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3.2.6 บทความวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์/เดือน). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าบทความ.

เช่น

อารุง  จันทวานิช. (2546). โรงเรียนสมบูรณ์แบบ. วารสารวิชาการ, 6(1), 20-23.

Chomsky, N., Halle, M., & Harris, Z. (1960).Toward a generative model of Pig Latin syntax. Pigology : Current issues in Pig Latin research, 26(2), 247-289.

3.2.7 หนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์/เดือน/วันที่). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้าบทความ.

เช่น

ทีมข่าวการศึกษา. (2554, กุมภาพันธ์ 23). ผ่านร่าง พ.ร.ฏ. ตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ. เดลินิวส์, 12.

Schemo, D. J. (2002, March 8). More granduates mired in debt, survey finds. The NewYork Time, A18

3.2.8 อินเตอร์เน็ตหรือเว็บไซต์

ชื่อผู้แต่ง. (ปี เดือน วัน หรือ ม.ป.ป. หรือ n.d. ถ้าไม่มีบอกไว้). ชื่อเรื่อง. ชื่อฐานข้อมูลหรือชื่อ website ของบทความนั้น. ระบุ URL ให้ชัดเจน หลัง URL address ไม่ให้ใส่ (.)

เช่น

National Renewable Energy Laboratiory. (2008). Biofuels. Retrieved from http: // www.nrel.gov/learning.re_biofuels.html

  1. การส่งต้นฉบับ

4.1 ให้พิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยบันทึกไฟล์เป็นชนิด Word 97-2003 Document (.doc) มีความยาวทุกรายการจำนวนไม่เกิน 15 หน้า ขนาดกระดาษ A4 ห่างจากขอบทุกด้าน 1 นิ้วหรือ 2.54 เซนติเมตร ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16

4.2 การส่งเรื่องพิมพ์ ให้ส่งต้นฉบับ 3 ชุด พร้อมไฟล์ต้นฉบับบันทึกลงแผ่น CD-ROM จำนวน 1 ชุด และรายละเอียดตามแบบเสนอบทความ

ส่งต้นฉบับพร้อมไฟล์ข้อมูลทางไปรษณีย์ถึง

บรรณาธิการราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์  เลขที่ 320 ถนนหลักเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ :

  • อาจารย์ดร.ธิดารัตน์  คณึงเพียร E-mail : [email protected]
  • กองบรรณาธิการราชาวดีสาร E-mail : [email protected]
  • Submission Online : https://tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/index

4.3 การส่งต้นฉบับลงในวารสาร

 ฉบับที่ 1 ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี และฉบับที่ 2 ภายในวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปี

หากพ้นกำหนดในระยะเวลาดังกล่าว ต้นฉบับจะเลื่อนการพิจารณาลงในฉบับต่อไป

  1. การรับเรื่องต้นฉบับ

5.1 เรื่องที่รับไว้ กองบรรณาธิการจะแจ้งตอบรับทาง E-mail ให้ผู้เขียนทราบภายใน 3 อาทิตย์นับจากวันที่กองบรรณาธิการได้รับต้นฉบับ

5.2 เรื่องที่ไม่ได้รับพิจารณาจัดพิมพ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ทราบภายใน 3 เดือน แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืน

5.3 เรื่องที่ได้รับการพิจารณาลงพิมพ์ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารให้ผู้เขียนเรื่องละ 1 เล่ม โดยจะให้ผู้เขียนที่เป็นชื่อแรก

         ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ จำนวน 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)

นโยบายส่วนบุคคล

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.