ผลการเทียบเคียงการปฏิบัติทางการศึกษาที่มีประสิทธิผล สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

ผู้แต่ง

  • คมวัฒน์ รุ่งเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ศรินยา พลสิงห์ชาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

ความท้าทายทางวิชาการ, การส่งเสริมประสบการณ์ทางการศึกษา, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อเทียบเคียงการปฏิบัติทางการศึกษาที่มีประสิทธิผลของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2559 จำนวน 428 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการปฏิบัติทางการศึกษาที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอนที่ 2 สภาพการปฏิบัติทางการศึกษาที่มีประสิทธิผล รวม 14 ข้อ ประกอบด้วย แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 4 ระดับ มีความเชื่อมั่น (Reliability) โดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ จำนวนความถี่ (f) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าคะแนนมาตรฐานซี (Z-Score) 

ผลการวิจัยพบว่า 

      1. ผลการเทียบเคียงการปฏิบัติทางการศึกษาที่มีประสิทธิผล โดยใช้ค่าคะแนนมาตรฐาน (Z) ในภาพรวมของวิทยาลัยเป็นค่าเทียบเคียง (Benchmark Score) พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีผลการเทียบเคียงสูงกว่าค่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score = 0.16)

       2. ผลการเทียบเคียงการปฏิบัติทางการศึกษาที่มีประสิทธิผล แต่ละองค์ประกอบ พบว่า

           องค์ประกอบที่ 1 ระดับความท้าทายทางวิชาการ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีผลการเทียบเคียงสูงกว่าค่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score = 0.36)

           องค์ประกอบที่ 2 การเรียนรู้อย่างร่วมมือและกระตือรือร้น ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 มีผลการเทียบเคียงสูงกว่าค่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score = 0.03, 0.04 และ 0.01 ตามลำดับ) 

           องค์ประกอบที่ 3 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มีผลการเทียบเคียงสูงกว่าค่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score = 0.12 และ 0.10 ตามลำดับ) 

            องค์ประกอบที่ 4 การส่งเสริมประสบการณ์ทางการศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีผลการเทียบเคียงสูงกว่าค่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score = 0.06) 

            องค์ประกอบที่ 5 สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 มีผลการเทียบเคียงสูงกว่าค่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score = 0.13 และ 0.07 ตามลำดับ)

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

เจษฎาภรณ์ อ้นแก้ว และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก การวิเคราะห์พหุระดับโดยใช้โมเดลระดับลดหลั่นเชิงเส้น (HLM). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 18-36.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2549). เทคนิคการเขียนโครงการวิจัย: แนวทางสู่ความสำเร็จ. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ทิศนา แขมมณี. (2553). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2558. (2558). สุรินทร์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2551). การปฏิบัติการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ (Effective Educational Practice). (เอกสารอัดสำเนา).

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2550). คุณภาพการอุดมศึกษาไทย. เอกสารสรุปในงานประชุมสัมมนาเรื่อง “การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา” ในวันที่ 8 มีนาคม 2550.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2548). มาตรฐานการศึกษาชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

เอนก บุญสวน. (2553). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงและต่ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (หน้า 789-802). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: Mc Graw-Hill Company.

Janice, R. E., & Celia, L. H. (1995). Nursing in today’s world. (5th ed.). Philadelphia, J.B.: Lippincott Company.

Roy, S. C. (1987). Introduction to nursing: An adaptation model. New Jersey: Prentice-Hall, Englewood Cliffs.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28