ผลของการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานต่อความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พูลทรัพย์ ลาภเจียม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

คำสำคัญ:

รูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ, นักศึกษาพยาบาล, การพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติต่อความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความพร้อมด้านความรู้ วิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 3) แบบประเมินความพร้อมด้านทักษะการปฏิบัติการพยาบาล 4) รูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ 1 ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบราค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความความแตกต่างก่อนและหลังในกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน โดยใช้ One sample pair t-test

          ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมด้านความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลก่อนและหลังการเข้าร่วมรูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดปกติ ก่อนและหลังเตรียมความพร้อมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพร้อมด้านทักษะการปฏิบัติการพยาบาลก่อนและหลังเข้าร่วมการเตรียมความพร้อมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

 

References

กัญญ์ชิสา สุนทรมาลัย. (2560). ปัจจัยทำนายและแนวทางลดความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 128-138.

ชุติกาญจน์ แซ่ตั้น และศศิธร คำพันธ์. (2557). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(3), 54-63.

นงณภัทร รุ่งเนย และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2559). ผลของการส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติ ต่อความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(2), 29-38.

พวงผกา อินทร์เอี่ยม, จำลอง ชูโต และสุนทรี ภานุทัต. (2560). ผลของการจัดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติต่อความเครียดและความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 “การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” วันที่ 26-27 กรกฎาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชธานี.

ภัททิยา จันทเวช. (2561). การเตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาลเพื่อลดความเครียดในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด.วารสารเกื้อการุณย์, 25(1), 184-191.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2558). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 7-15.

ยุวดี วัฒนานนท์, วาสนา จิติมา และวชิรา วรรณสถิตย์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลก่อน ฝึกภาคปฏิบัติในหน่วยห้องคลอดกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติพยาบาลผู้คลอดปกติในระยะคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(4), 67-73.

วรรณวดี เนียมสกุล. (2560). ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(2), 1-17.

วัจมัย สุขวนวัฒน์ , ดวงหทัย ศรีสุจริต และจิรภัค สุวรรณเจริญ. (2553). การพัฒนาแบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์โดยการกำหนดเกณฑ์การประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 5(2), 77-89.

ศิริจิตร จันทร และธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล. (2555). ความพร้อมในการฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 5(1), 32-45.

สายลม เกิดประเสริฐ และศรีสมร ภูมนสกุล. (2556). ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล อาจารย์พยาบาลต่อการเรียนการสอนในห้องฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในห้องคลอด. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 19(3), 400-415.

สุมาลี จูมทอง, ดุษฎี โยเหลา, งามตา วนินทานนท์ และ สธญ ภู่คง. (2552). ประสบการณ์ความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลจากการเรียนภาคปฏิบัติในห้องคลอด. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 39-56.

อาภากร เปรี้ยวนิ่ม. (2557). วิธีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาระดับบัณทิตศึกษา ด้านวิชาชีพการพยาบาล. วารสารวิชาการ, 7(2),19-25.
Gagne, R. M. (1985). The conditions of learning and theory of instruction. New York: CBS College Publishing.

Kaneko S., & Momino, K. (2015). Stress factors and coping behaviors in nursing students during fundamental clinical training in Japan. International Journal of Nursing & Clinical Practices, 2, 138.

Macneil, C. (2001). The supervision as a facilitator or informal learning in work teams. Journal of Workplace Learning, 13(6), 246-253.

Wikipedia . (2018) . Robert M. Gagné. Retrieved from https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_M._Gagn%C3%A9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28