ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง

ผู้แต่ง

  • สุริยา ฟองเกิด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กนกพร นทีธนสมบัติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ประสบการณ์, การดูแลตนเองด้านสุขภาพ, ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ดูแลหลัก จำนวน 12 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต โดยใช้ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล 4 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2561 และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้ดูแล จำแนกได้เป็น 3 ประเด็น คือ 1) ภาวะสุขภาพ มี 2 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ได้แก่ การเสื่อมของร่างกายเพิ่มขึ้น ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว เจ็บป่วยเล็กน้อย อ่อนเพลีย และอาการของโรคเดิมกำเริบ และด้านจิตใจ ได้แก่ เครียด 2) วิธีการดูแลตนเองด้านสุขภาพ ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ได้แก่ หายามารับประทาน นอนพักผ่อน ทำกายบริหาร ยืดเหยียด นวดด้วยตนเอง และรับประทานอาหารเสริม ด้านจิตใจ ได้แก่ คิดบวก เข้าวัดทำบุญ ทำจิตใจให้สงบ นั่งสมาธิ สวดมนต์ ใส่บาตร ออกไปหาเพื่อนเพื่อผ่อนคลาย เมื่อมีการปะทะอารมณ์กันก็จะเดินหนี และหาคนมาดูแลแทนสักระยะ  3) ความต้องการการดูแลด้านสุขภาพ ได้แก่ ต้องการให้บุคลากรทางสุขภาพมาดูแลถึงบ้าน ต้องการคนมารับฟังความรู้สึก ต้องการผู้ช่วยในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง และต้องการคนมาเยี่ยมไม่ทอดทิ้งกัน การศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่าพยาบาลต้องเข้าใจถึงความหมายของภาวะสุขภาพ วิธีการดูแลตนเอง และความต้องการของผู้ดูแลจึงจะทำให้สามารถให้การพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดูแลได้อย่างเหมาะสมที่สุด     

References

จันทร์เพ็ญ นพพรพรหม. (2550). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติ (วช.). กรุงเทพมหานคร: สภาวิจัยแห่งชาติ.

ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พรินติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

พิศสมัย บุญเลิศ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ และศุภวดี แถวเพีย. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมันตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(2), 79-87.

พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ์, นิสาชล นาคกุล และวิชญา โรจนรักษ์. (2559). สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(2), 54-64.

ไพรินทร์ พัสดุ. (2555). ความเครียด การเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแล และการจัดการกับปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในผู้ป่วยภายหลังบาดเจ็บที่ศีรษะ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาวดี เหมทานนท์, สกล วรเจริญศรี, มณฑิรา จารุเพ็ง และสุวิมล กฤชคฤหาสน์. (2560). มุมมองเชิงบวกต่อการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่บ้าน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 186-199.

ทรงเกียรติ์ เมนสุวรรณ์, ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ และพระมหาดวงเดน ฐิตญาโณ. (2560). แนวทางการเสริมสร้างสันติภาพตามหลักศีล 5 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 5 (ฉบับพิเศษ), 363-376.

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูล การตีความและการหาความหมาย. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางทราย. (2561). รายงานสถิติผู้ป่วยติดเตียง ปีงบประมาณ 2561. ชลบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางทราย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองชลบุรี.

วริสรา ลุวีระ. (2556). การดูแลสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(2), 266-70

ศศิธร ธนะภพ และรพีพร ขวัญเชื้อ. (2558). ความจำเป็นของการดูแลแบบประคับ ประคองในชุมชนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะท้าย: กรณีศึกษาเครือข่ายบริการปฐมภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 13-25.

สายพิณ เกษมกิจวัฒนา และปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. (2557). ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล, 29(4), 22-31.

สินีนุช ขำดี, มณี อาภานันทิกุล และยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2557). การปรับตัวของญาติผู้ดูแลที่มีปัญหาการปรับตัวในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล, 29(4), 45-63.

สุปรีดา มั่นคง ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม และศุภร วงศ์วทัญญ. (2559). บทบาทของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง: การศึกษาเบื้องต้นเชิงคุณภาพ. วารสารสภาการพยาบาล, 31(4), 104-121.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร แนวบุตร. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(4), 30-40.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2560. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. (2561). รายงานสถิติผู้สูงอายุติดเตียง. ชลบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี.

อรวิธู กาญจนจารี, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม และสุปรีดา มั่นคง. (2560). บทบาทและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในสถานบริการที่มีการดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(3), 328-343.

อรุณี ชุนหบดี, ธิดารัตน์ สุภานันท์, โรชินี อุปลา และสุนทรีภรณ์ ทองไสย. (2556). ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพระปกเกล้าจันทบุรี, 26(1), 53-63.

Bevans, M.F, Sternberg, E.M. (2012). Caregiving burden, stress, and health effects among family caregivers of adult cancer patients. JAMA, 307(4), 398-403.

Colaizzi, P. (1978). Psychological research as the Phenomenologist views it. In S.V. Ronald, & K. Mark (eds.), Existential-phenomenological alternatives for psychology. (pp.48-71). London: Oxford University Press.

Grant, J.S. (1996). Home care problems experienced by stroke survivors and their family caregivers. Home Healthcare Nurse, 14, 892-902.

Jean-Philippe, R. Ranjit, N, & Christopher, C. (2012). Caregiver burden among nocturnal home hemodialysis patients. Hemodialysis International, 16(2), 214-219.

Sakakibara, K., Kabayama, M. & Ito, M. (2015). Experiences of “endless” caregiving of impaired elderly at home by family caregivers: a qualitative study. BMC Research Notes, 8(827), 1-11.

Smith, C.E., Piamjariyakul, U., Yardrich, D.M., Ross, V.M., Gajewski, B., & William, A.R. (2012). Complex home care: Part3-Economic impact on family caregiver quality of life and patients’ clinical outcome. Nursing Economics. 28(6), 393-414.

Smith, R.D. (2000). Promoting the health people of with physical disabilities: a discussion of the financing and organization of public health services in Australia, Health Promotion International. 15(1), 79-86.

Spence, A., Waldron, M., Kernohan, G., McLaughlin, D., Cochrane, B., & Watson, B. (2008). Active carers: Living with chronic obstructive pulmonary disease. International Journal of Palliative Nursing, 14(8), 368-372.

Steinhauser, K.E. (2005). Measuring end-of-life care outcomes prospectively. Journal of Palliative Medicine, 8 (Suppl 1), S30-41.

Van Wijngaarden, B., Schene, A.H., & Koeter, M.W. (2004). Family care giving in depression: Impact on caregivers’daily life, distress, and help seeking. Journal of Affective Disorders. 81, 211-222.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-16