ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศุภรัฐ พูนกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
  • สุขสิน เอกา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรงโคกเพชร ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, ชุมชน

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานต่อการใช้บริการในหน่วยบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยไปทำการรักษา (2) ศึกษาภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน (3) ศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 คนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ ถูกเลือกเข้าร่วมการวิจัยโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลระหว่างระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยการสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง

           ผลการศึกษา พบว่า

  1. ความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานต่อการใช้บริการในหน่วยบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยไปทำการรักษา พบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 70 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 30
  2. ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าส่วนใหญ่มีพฤติกรรมไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 55 และร้อยละ 90 ตามลำดับ ดัชนีมวลกายอยู่ในช่วงปกติ ร้อยละ 7 มีระดับความดันโลหิต sysytolic น้อยกว่า 140 mmHg ร้อยละ 79.9 มีระดับ HbA1C ≥7 % ร้อยละ 62.9 มีระดับคอเลสเตอรอล < 200 mg/dl ร้อยละ 71.4 และพบว่ามีโรคร่วมที่พบมากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 81.7
  3. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 7 รองลงมาคือระดับมาก ร้อยละ 33.3
  4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย ได้แก่ รอบเอว (r=.314, p=.014) ระดับความดันซิสโตลิค (r=.260, p=.045) และความพึงพอใจด้านความรวดเร็วในการบริการ (r=.294, p=.023) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านการผ่อนคลายความเครียด ได้แก่ ความพึงพอใจด้านอุปกรณ์ในการให้บริการ (r=-.282, p=.029)

         ข้อเสนอแนะ ควรมีการออกแบบรูปแบบการออกกำลังกายที่ช่วยลดรอบเอวและลดระดับความดันโลหิต รวมไปถึงการสนับสนุนอุปกรณ์ในการออกกำลังกายและเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดพฤติกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป

References

กฤษณา คําลอยฟ้า. (2554). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 17(1),17-30.

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก,15(3), 256-268.

จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2552). คุณภาพชีวิตและปัจจัยทางจิตสังคมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54(2), 185-196.

ชลวิภา สุลักขณานุรักษ์, วโรดม ใจสนุก และเบญจา มุกตพันธ. (2559). ความสัมพันธ์ของภาวะซึมเศร้าและความเครียดกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลนำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 31(1), 34-46.

ชัชรินทร์ กูเมาะ และรุ่งนภา จันทรา. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก จังหวัดปัตตานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(2), 85-99

เนตรเพชรรัสมิ์ ตระกูลบุญเนตร. (2560). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวุฒิสมเด็จย่า. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 64-74.

พุดสมพงษ์ วิไล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัชรวลัย ลองแปลง, นงนุช โอบะ และชมนาด วรรณพรศิริ. (2554). ปัจจัยทำนายความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุอายุต่ำกว่า 40 ปี ที่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 5(2), 12-22.

บุปผาชาติ ทีงาม, เยาวภา ติอัชสุวรรณ และช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการ ป้องกันโรค เบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านโพนม่วง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 5(3), 127-134.

ภาณุมาศ ไกรสัย และวลัยนารี พรมลา. (2560). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน.วารสารบัณฑิตศาส์น, 15(2), 101-110

วรรณรา ชื่นวัฒนาและณิชานาฏ สอนภักดี. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3), 163-170.

วงเดือน ฦาชา, สุชัญญา เบญจวัฒนานนท์, กาญจนา เปสี และพนิตนาฏ รักษ์มณี. (2554). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารกองการพยาบาล, 38(1), 31-41.

ลักษณา พงษ์ภุมมา และศุภรา หิมานันโต. (2560). ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 20(40), 67-76.

สุปราณี เฟื่องฟุ้ง, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย และนพวรรณ เปียซื่อ. (2558) .ผลของโปรแกรมควบคุมอาหารโดยใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยนต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 3(1), 34-49.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สุนทรี สุรัตน์, กิตติ ศศิวิมลลักษณ์, เกวลี เครือจักร และวิโรจน์ มงคลเทพ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 4(2), 297– 307.

สุปรียา เสียงดัง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 191-204.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

อิศวร ดวงจินดา. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(6), 1118-1126.

อนงค์ หาญสกุล และธวัชชัย ทองนำ. (2555). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแก อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา, 15(พิเศษ), 243-252.

อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล และกิตติยา ศิลาวงค์ สุวรรณกูฎ. (2559). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 9(2), 331-338.

Bigdeli, M.A., Hashemi Nazari, S.S., Khodakarimn S., & Brodati, H. (2016). Factors affect the self care in patient eith typeII diabetic using path analysis. Tranian Journal of health science, 4(3), 10-21.

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Assoc.

Munro, B.H. (2001). Statistical method for health research (4th ed.). New York: Lippincott.

World Health Organization. (2016). World Health Statistics 2012: Geneva: World Health Organization. Retrieved from :https://www.who.int/gho/publications/ world_health _ statistics/201

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-16