Organizational Commitment: a case study of Medical Service Department personals at Bangkok Metropolitan Administration

Main Article Content

สุพิชากรณ์ ธนานุวงษ์
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์
ยุวนุช สัตยสมบูรณ์

Abstract

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสายวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 


วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่พยากรณ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ในข้าราชการสายวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน และโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 351 คน  ระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย: ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับปานกลาง คุณลักษณะงานบรรยากาศองค์กรและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรอยู่ในระดับสูง จากผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสายวิชาชีพในสังกัดสำนักการแพทย์ มี 2 ตัวแปร ได้แก่ บรรยากาศองค์กร และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กร โดยร่วมกันอธิบายความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การข้าราชการสายวิชาชีพในสังกัดสำนักการแพทย์ ร้อยละ 24.2 (p < 0.05)


สรุป: จากผลการวิจัยครั้งนี้ เสนอให้ผู้บริหาร พิจารณาสนับสนุนปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความอิสระในงาน และหามาตรการให้ข้าราชการสายวิชาชีพปฏิบัติงานในโรงพยาบาลให้นานขึ้น อันจะเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)

References

กองวิชาการ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. (2558). รายงานประจำปีงบประมาณ 2558 สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร.
จิดาภา นากา. (2552). ปัจจัยที่อิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาล โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชันแนล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการบริหารโรงพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
จันทิรา บุญปริพันธ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตวัดเลียบ.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปภาวดี เหล่าพาณิชย์เจริญ. (2553). ความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปาริชาติ ปานสำเนียง. (2555). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2559. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2556). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2556-2575. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
เนาวรัตน์ เจริญสุข. (2553). แรงจูงใจและบรรยากาศองค์กรที่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหา บัณฑิต (สาธรณสุขศาสตร์) สาขาวิชา เอกการบริหารโรงพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Ins.
Colquitt, J. A., Lepine, J. A., Wesson, J. M. (2009). Organizational Behavior: Improving Performance and Commitment in the Workplace. China: McGraw-Hill.
Hackman J. R., Oldham, G. R. (1980). Work Redesign. Massachusetts: Addison Wesley Publishing Company.
Meyer, J. P. & Allen, N. J. (2007). Meyer and Allen Model of Organizational Commitment: Measurement Issues. The Icfai Journal of Organization Behavior; 2002. Vol. 7, No.4.
Steers, R. M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organization Commitment. Administrative Science Quarterly. 22(1); 46-56.