ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย

Main Article Content

วันทนีย์ ศรีนวล
อัศวิน แสงพิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์
2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อปัจจัยด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด
บุรีรัมย์ และ3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัด เครื่อง
มือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 ชุด โดยการ
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยการทดสอบค่าที (t–test) การวิเคราะห์
ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี มีระดับ
การศึกษาปริญญาตรี ประกอบธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ มีรายได้เฉลี่ยระหว่าง 15,001-30,000
บาท โดยมีการรับรู้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ด้านอารยธรรมขอมและด้านกีฬาอยู่ใน
ระดับมากที่สุด สำหรับระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อปัจจัยด้านการท่องเที่ยวของ
จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า นักท่องเที่ยวให้ความคิดเห็นในด้านกิจกรรมและด้านแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับ
มากที่สุด ส่วนด้านการเดินทางและค่าใช้จ่าย ด้านที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านวัฒนธรรม ด้าน
ความปลอดภัยและความสะอาด ตามลำดับอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้วิธี
การถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านวัฒนธรรม และด้านกิจกรรมที่น่าสนใจ ส่งผล
ต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาครั้งนี้
ผู้วิจัยขอเสนอแนะให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้บุรีรัมย์
เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวด้านการกีฬาและอารธรรมขอม ส่งเสริมการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์
ของประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงอาหารท้องถิ่นไว้ให้คนรุ่นหลังสืบสานต่อไป อีกทั้งควรสร้างสรรค์
กิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ที่ดีแก่สายตานักท่อง
เที่ยวทั้งไทยและต่างชาติที่มาเยือน
The objectives of this research were 1) to study the level of Buriram tourism
image, 2) to study the level of Thai tourists’ opinions on tourism factors of Buriram,
and 3) to study the factors affecting Buriram tourism image among Thai tourists. This
research was the quantitative research by using questionnaires to collect the data
from 400 Thai tourists who visited Buriram by using accidental sampling. The statistical
techniques used in the data analysis were descriptive statistics and inferential
statistics. The descriptive statistics included the frequency, percentage, mean and
standard deviation. Inferential statistics consisted of t-test, One-way ANOVA and Multiple
Regression Analysis.
The results showed that the most samples who were women and had average
age between 20-30 years old. Most of them were entrepreneurs and they had monthly
income between 15,001-30,000 Baht. The study on opinions of perception of tourism
image of Khmer civilization and Sports found that most tourists provided the feedback
at the highest level. For the opinions of the Thai tourists on factors of tourism province,
it was found that the visitors had the opinions on the activities and the attractions
at the highest level, the travel and expenses, accommodation and facilities, cultural,
safety and cleanliness, respectively at the high level. The hypothesis testing by using
multiple regression analysis found that the factors affecting Buriram tourism image
among Thai tourists included these 3 factors: tourism attractions, culture and
interesting events affected Buriram tourism image among Thai tourists with the significant
level at 0.05. In terms of the results of study, the researcher proposed to the public,
private sectors, and entrepreneurs involved for supporting Buriram to become the
center of the sport and Khmer civilization by promoting the conservation of the unique
traditions, culture and the local food for the next generations. Moreover, creative
and interesting events should be promoted in order to creating the image of tourism
province to the Thai and foreign tourists.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)