แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้: กรณีศึกษา โรงเรียน มาบกราดวิทยา ตำาบลมาบกราด อำาเภอพระทองคำา จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สุขเกษม จันทรแสน
ฤทัย นิ่มน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมและจัดประเภทแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้
ในตำาบลมาบกราด อำาเภอพระทองคำา จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาความต้องการใช้แหล่งสารสนเทศ
ท้องถิ่นมาประกอบการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนมาบกราดวิทยา ตำาบลมาบกราด อำาเภอพระทองคำา
จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำารวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและวิธีดำาเนินการวิจัย
ประกอบด้วย การรวบรวมและจัดประเภทแหล่งสารสนเทศใช้แบบบันทึกข้อมูลแหล่งสารสนเทศเป็นเครื่อง
มือเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ตำาบลมาบกราด จำานวน 8 หมู่บ้าน รวบรวมข้อมูลโดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจาก
เอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสำารวจ และการสัมภาษณ์ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ด้านการศึกษาความต้องการใช้แหล่งสารสนเทศ ใช้แบบสอบถามเป็น
เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลของครูและบุคลากรทางการศึกษา จำานวน 16 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ที่สามารถนำาไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ
โรงเรียนมาบกราดวิทยา มีจำานวนทั้งสิ้น 102 แหล่ง แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภท
สถาบัน จำานวน 45 แหล่ง 2) แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทสถานที่ จำานวน 14 แหล่ง 3) แหล่งสารสนเทศท้อง
ถิ่นประเภทบุคคล จำานวน 14 แหล่ง 4) แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทเหตุการณ์ จำานวน 29 แหล่ง
2. ด้านความต้องการใช้แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นมาประกอบการเรียนการสอนของครู พบว่า โดย
ภาพรวมมีความต้องการมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ครูมีความต้องการแหล่งสารสนเทศท้อง
ถิ่นประเภทบุคคลมากที่สุด รองลงมาคือ แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทเหตุการณ์ แหล่งสารสนเทศท้อง
ถิ่นประเภทสถาบัน และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทสถานที่ ตามลำาดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ
ขนิษฐา รุ่งกิจเลิศสกุล. (2546). การใช้แหล่งวิทยาการในชุมชนเพื่อพัฒนาการเขียนเล่าเรื่องของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทิมา เขียวแก้ว. (2558). เอกสารประกอบการสอนการจัดการสารสนเทศเพื่องานนิเทศศาสตร์.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย.
ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ. (2537). บริการสารนิเทศ. ปทุมธานี : สาขาสารนิเทศ คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต.
ชัยพจน์ รักงาม. (2542). แหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นคนรอบรู้. วารสารวิชาการ, 2(4), 31-33.
ณรงค์ ก๋องแก้ว. (2541). การใช้แหล่งวิทยาการท้องถิ่นในการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสร้างเสริม
ประสบการณ์ชีวิต ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำานักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำาพูน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(การประถมศึกษา) เชียงใหม่ : บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทองสวน โสดาภักดิ์. (2549). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเกษตรกรรมพึ่งตนเอง
โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโลยี ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)
มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นรินทร์ สังข์รักษา. (2549). การจัดการความรู้ : ฐานความรู้สู่สังคมธรรมานุภาพ. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(1-2), 19-28.
นิดา นิ่มวงษ์. (2559). การใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนธัญรัตน์ สังกัด
สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา) ปทุมธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยปทุมธาน
บุญญลักษม์ ตำานานจิตร. (2554). แนวทางการพัฒนาการใช้สารสนเทศประกอบการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของประเทศไทย. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พยอม ยุวะสุต. (2550). “การเข้าถึงสารสนเทศ”. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2560, จาก
http://wachum.org/payom/doc7-1.html
พรรณี เสี่ยงบุญ. (2554). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำาคัญ โรงเรียนบ้านหนองบัวคู อำาเภอนาดูน สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม
เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 109-120.
ไมตรี จันทรา. (2548). การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนประกอบการจัดการเรียนรู้ของครู ในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัด สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) นครศรีธรรมราช : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ภีมศักดิ์ เอ้งฉ้วน. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกแหล่งสารสนเทศ:กรณีศึกษาของนักศึกษา
อาเซียนในประเทศ ไทย. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำาแหง
รัถพร ซังธาดา. (2541). สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า. มหาสารคาม: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วราพรรณ อภิศุภะโชค. (2553). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของอาจารย์
คณะมนุษยศาสตร์ และคณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสาร
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 17(2), 57-70.
ศิริรัตน์ จำาปีเมือง. (2553). ความรู้ที่จำาเป็นของคนยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเนรศวร, 12(1), 165-171.
สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่
21: สหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.
สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564”. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560, จาก
http://www.nesdb.go.th.
สุพิมล วัฒนานุกูล. (2556). “Information Access การเข้าถึงสารสนเทศ”. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม
2560, จาก teacher2.aru.ac.th/thanoo/images/stories/information/lesson1.pdf
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อลงกรณ์ จุฑาเกตุ. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต :
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (การศึกษาตลอดชีวิต
และการพัฒนามนุษย์) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.