การพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระ งานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและคุณลักษณะ การเรียนรู้ด้วยการนำ ตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตร

Main Article Content

ภัทรินธร บุญทวี
วิสาข์ จัติวัตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์
เท็กซ์โดยเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและคุณลักษณะการเรียนรู้
ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 2) เพื่อศึกษา
ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระงานเพื่อส่ง
เสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษา
ระดับปริญญาตรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่1คณะ
ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จำ นวน 28คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบ
การสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระงาน คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการ
เรียนรู้ แบบฝึกการอ่าน แบบทดสอบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจแบบวัดความสามารถ
ในการใช้กลวิธีวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์ บันทึกการอ่าน แบบวัดคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วย
การนำตนเอง แบบสอบถามความพึงใจของนักศึกษาต่อการใช้รูปแบบฯวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดย
หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระ
งานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีชื่อว่า “PMALS” มี4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ เน้นการจัดการ
เรียนการสอนกลวิธีการอ่านอินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์โดยเน้นภาระงาน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและคุณลักษณะการนำตนเอง 3) กระบวนการเรียนการสอน
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 วางแผน (Planning: P) ขั้นที่ 2 นำ เสนอ (Modeling: M) ขั้นที่ 3
ปฏิบัติภาระงาน (Action: A) ขั้นที่ 4 ฝึกใช้ภาษา (Language Practice: L) และขั้นที่ 5 สะท้อน
การเรียนรู้(Self-reflection: S) 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ การเตรียมความพร้อมในการเรียน
และสื่ออุปกรณ์ รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.32/80.13ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
80/80 ที่กำ หนดไว้2) หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน (PMALS Model) นักศึกษามีความ
สามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) หลังการ
เรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน (PMALSModel) นักศึกษามีความสามารถในการใช้กลวิธีการอ่าน
อินเทอร์เน็ตไฮเปอร์เท็กซ์อยู่ในระดับมาก 4) หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน (PMALS
Model) นักศึกษามีคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 5) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน (PMALS Model) โดยภาพ
รวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กรมวิชาการ. (2540). แนวทางการสอนที่เนนทักษะกระบวนการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภา ลาดพร้าว.
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2549). เทคโนโลยีการศึกษาวิชาชีพ . กรุงเทพฯ : สินทวีการพิมพ์
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. พิมพครั้งที่12. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพแหง
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
Anderson, N. J. (1991). Individual Differences in Strategy Use in Second Language
Reading and Testing.The Modern Language Journal, 75:460-72.
Anderson, N J. (2003). Scrolling, Clicking and Reading English: Online Reading Strate
gies in Second/Foreign Language. The reading Matrix, 3(3): 1-33.
Anderson, N. J. (2003). Teaching reading. In D. Nunan (Ed.), Practical English languag
eteaching (pp. 67-86).New York: McGraw Hill Publishers.
Auerbach and Paxton (1997).“It’s not English thing”: Bringing Reading Research into
the ESL classroom. TESOL Quartery. 31(2): 237-262.
Barnett, M. A. (1988). Reading through context: How real and perceive strategy use
affects L2 comprehension. The Modern Language Journa, 72: 150-162.
Bernhardt, E. B. (1991). Reading development in a second language.Theoretical,
research, and classroom perspectives. Norwood, N.J.: Ablex.
Block, E. L. (1992). See how they Read: Comprehension Monitoring of L1 and L2
Readers. TESOL Quarterly, 26(2):319-43.
Bolhuis, S. (2003). Towards process-oriented teaching for self- directed lifelong learn
ing: a multidimensional perspective. Learning and Instruction, 13: 327-347.
Bygate, M. (1999).Task as context for the framing, reframing and unframing of lan
guage.System, 27, 33-48.
Dowhower, S. (1999).“Supporting a Strategic Stance in the Classroom: A Comprehen
sion Framework for Helping Teachers Help Students to Be Strategic.”
The Reading Teacher, 52(7): 673–683.
Grabe, W., and Stoller, F. L. (2002).Teaching and researching reading. Great Britain:
Pearson Education.
Gulielmino, L.M. (1997). Development of the self-directed learning readiness scale.
Doctoral dissertation, University of Georgia.
Joyce, B., and Weil, M. (1996).Model of Teaching (5th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Knowles, M. (1975).Self-directed learning: A guide for learners and teachers. Chicago:
Follett Publishing Company.
Mulholland, R. (2002). Using high-interest materials to engage secondary students in
reading.Reading Online.www.readingonline.org
Nunan, D. (1999).Second Language Teaching & Learning. Boston: Heinle&Heinle Publishers.
Pica, T., Kanagy, R., &Falodun, J. (1993). Choosing and using communication tasks for
second language research and instruction. In G. Crookes & S. M. Gass (Eds.),
Tasks and second language learning (pp. 9-34).Clevedon, UK: Multilingual Matters
Schmitt, M. C. (1990). A questionnaire to measure children’s awareness of strategic
reading processes. The Reading Teacher. 43: 454-461.
Thepsiri, K. (2007). Scaffolding in Project Work: A Study of a Project – based Course
Implementation in a Thai University Context. Ph.D. Thesis, Newcastle University, UK.
Willis, D., & Willis, J. (2007). Doing task-based teaching. Oxford, UK: Oxford University Press.
Urquhart, A. H., & Weir, C. J. (1998). Reading in a second language: Process, product
and practice. London and New York: Longman.