การสอนที่แก้ไขข้อบกพร่อง เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร จำนวนเต็มโดยการสร้างมโนมติทางคณิตศาสตร์

Main Article Content

Apantee Poonputta

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของความรู้คณิตศาสตร์ระดับสูงขึ้นจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ แต่ปัญหาที่พบมากในการจัดการเรียนการสอนในแบบเดิมคือ การจัดการเรียนการสอนที่เป็นครูเป็นผู้บรรยายหรืออธิบายให้ความรู้เพียงอย่างเดียวและเนื้อหามีลักษณะเป็นนามธรรมค่อนข้างสูง ทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความรู้ความเข้าใจ ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถนำความรู้ที่ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการทำแบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบในสาระนี้ได้อย่างถูกต้อง การใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวมโนมติทางคณิตศาสตร์จะทำให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมและทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากขึ้น  การบวก ลบ คูณ และหาร เป็นการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเนื่องจากความรู้ความเข้าใจในเรื่องข้างต้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และนำไปประยุกต์และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้เรียนเอง  ซึ่งการพัฒนามโนมติทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วย 1) การสร้างมโนมติทางคณิตศาสตร์จากการรับรู้ (Perceptions) เกี่ยวกับวัตถุโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า 2) การสร้างมโนมติทางคณิตศาสตร์จากการรับรู้ผลของการจัดกระทำกับวัตถุโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผลของการจัดกระทำกับวัตถุและสัญลักษณ์ที่ใช้แทนผลการจัดกระทำนั้น หรือ 3) การสร้างมโนมติทางคณิตศาสตร์จากการใช้ความรู้ ความเข้าใจ โดยการสร้างมโนมติจากแบบใดแบบหนึ่ง หรือใช้ 2 แบบ หรืออาจจะใช้ทั้ง 3 แบบร่วมกันก็ได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)
Author Biography

Apantee Poonputta, Maha Sarakham University, Research and Evaluation Program

Maha Sarakham

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรงเทพฯ: โรงพิมพ์
ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
พรรณี ช. เจนจิตร. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัท เมธีทิปส์ จำกัด.
ดร.ชาญณรงค์ เอียงราช. (2554). การสร้างความรู้ความเข้าใจในมโนมติเชิงคณิตศาสตร์.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่ 34 ฉบับที่ 1-2.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน (2552). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Crowley, L. (2000). Cognitive structures in college algebra. Ph.D. dissertation, The University of
Warwick,UK.
Dubinsky, E. (1992). Reflective abstraction in advanced mathematical thinking. In Tall, D. (Ed.),
Advancedmathematical thinking. (pp.95-125). Dordrech Kluwer Academic Publishers
Goldin, G.A., & Kaput, J.J. (1996). A join perspective on the ideas of representation in learning
anddoing mathematics. In L.P. Steffe, P. Nesher, P. Cobb, G.A.
Goldin, & B. Geer (Eds.). Theoriesof mathematical learning. (pp.397-430). New Jersey:
Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Gray, E, & Tall, D. (2007). Abstraction as a natural process of mental compression. Mathematical
EducationResearch Journal, 19(2), 23-40.
Hiebert, J., & Carpenter, T.P. (1992). Learning and teaching with understanding. In D.A. Grouws
(Ed.).Handbook of research on mathematics teaching and learning. (pp.65-96).
New York: MacmillanPublishing Company.