ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Main Article Content

อัญชลี ทองเอม
ไพทยา มีสัตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิตย์ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา ประชากร
เป้าหมาย คือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัย
ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient
of Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสม
(Grade Point Average: GPA) 3.51 - 4.00 จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 และปัจจัยที่
มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา คือ ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ด้านการจัดการการศึกษา
และด้านครอบครัวและเพื่อน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์
ทางการศึกษาของนักศึกษา คือ เจตคติและแรงจูงใจต่อการเรียนของนักศึกษา คุณภาพการสอนและ
พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ และการสนับสนุนของครอบครัวหรือผู้ปกครอง มีความสัมพนธ์
ไปในทางบวกและมีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษา
ภาคบังคับ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในระดับปริญญาโทของสถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปีการศึกษา 2554. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพฯ.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6).
กรงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พยุงศักดิ์ สนเทศ. (2531). การประเมินพฤติกรรมการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ:
สารพัฒนาหลักสูตร.
ไพศาล หวังวานิช. (2526). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ภารดี อนันต์นาวี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์กางการเรียนของนักศึกษาจีนมหาวิทยาลัย
บูรพา. วารสารการศึกษา และการพัฒนาสังคม, 9, 166-177.
มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (2559). จัดการศึกษาระดับปริญญาโทในระบบ Block Course Modular
System. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2560 จาก http://espuc.east.spu.ac.th/faculty/
gradschool/menu01_d.htm
รุ่งฤดี กล้าหาญ (2554). การพัฒนาระบบการประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลของ
นักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 14, 48-58.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2530). บุคลากรนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : สำนักมาตรฐานการอุดมศึกษา.
วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2559). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุธาทิพย์ จรรยาอารีกุล. (2539). ปัญหาการเรียน ส่วนตัว สังคม ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค
สังกัดกรมอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสกสรรค์ ทองติ๊บ และนํ้าเงิน จันทรมณี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิต
สาขาอาชีวอนามัยและความปลอด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33, : 267-277
อนุวัติ คูณแก้ว. (2555). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการเรียนสูงและตํ่าของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
อุทุมพร จามรมาน. (2535). หลักสูตรวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา. เอกสารการสอนชุดการพัฒนา
แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Carroll, John B. (1963). A Model of School Learning. Teacher College Record. 64, : 723-733.
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York: Mc Graw-Hill Book.
Stiggins, Richard J. (1994). Student - Centered Classroom Assessment. Newyork:
Max well Macmillan College Publishing Company.