การบริหารจัดการระบบการกำกับและติดตามการประเมินบทความ ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

จุฑารัตน์ จัตุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาด้านการรับและส่งบทความในวารสาร
วิชาการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาในด้านการประเมินบทความในวารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยนำโปรแกรมการบริหารจัดการโดยส่งผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจะทำให้
การบริหารจัดการวารสารวิชาการมีประสิทธิภาพอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการ
3) เพื่อบริหารจัดการระบบกำกับและติดตามการประเมินบทความในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
ราชภัฏบุรีรัมย์ ให้มีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลจากคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำ
วารสารวิชาการ จำนวน 5 คน และผู้อ่านบทความ (Peer Review) เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
ในการประเมินบทความวิจัย จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบข้อมูล
ได้แก่ เป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาด้านการรับและส่งบทความในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
ราชภัฏบุรีรัมย์ มีระยะเวลาในการจัดส่งค่อนข้างจำกัด ทำให้ได้รับบทความที่ตีพิมพ์ล่าช้า ควรมีการ
จัดส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ โดยเข้าสู่เว็บไซต์ของวารสารวิชาการและขั้นตอนในการจัดส่งผ่าน
ระบบออนไลน์ทำให้ได้รับบทความกลับมาคืนได้อย่างรวดเร็ว และลดปัญหาอันเนื่องมาจากการขนส่ง
อีกทั้งยังลดจำนวนกระดาษที่ถูกใช้งานในระบบวารสารโดยทั่วไปลงได้ โดยนำเอาโปรแกรมการ
รับ - ส่ง บทความที่ทันสมัยเข้ามาใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ใช้งาน ก่อให้
เกิดประสิทธิภาพในการจัดทำวารสารวิชาการมากยิ่งขึ้น 3) ผลการประเมินบทความ พบว่า ผู้อ่าน
บทความส่วนใหญ่สามารถประเมินบทความวิจัยได้ตรงกับศาสตร์และความรู้ ความสามารถของ
ตนเองและให้คำแนะนำในการประเมินบทความที่เป็นประโยชน์ในการก่อให้เกิดองค์ความรู้นำไปสู่
การพัฒนาบทความที่มีคุณภาพและมีศักยภาพในการบริหารจัดการวารสารวิชาการได้ดี แต่ยังขาด
ความรู้ ความเข้าใจในระบบและขั้นตอนการประเมินบทความผ่านระบบออนไลน์และการเข้าไปใช้
โปรแกรมการประเมินบทความที่ถูกต้องซึ่งต้องอธิบายการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ เข้ามาช่วยเพื่อเพิ่ม
ความประสิทธิภาพในการประเมินบทความมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผลการศึกษาในด้านการประเมินบทความ
ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้นำโปรแกรมการบริหารจัดการโดยส่งผ่านระบบ
ออนไลน์ ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการวารสารวิชาการมีประสิทธิภาพอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
วงการวิชาการต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

พีระพล ขุนอาสา. (2545). การพัฒนาระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ต. สารนิพนธ์
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี และคณะ. (2549). ระบบสนับสนุนผู้ตรวจบนความออนไลน์.
วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – ธันวาคม 2549, 30-42.
วิลาสินี รัตนะรัต, กาญจนา กาญจนสุนทร. (2549: สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ). กลยุทธ์
การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร การขนส่งสินค้า กรณีศึกษา บริษัท เค เอเจนซี่
เวิลด์ เอ็กเปรส (ประเทศไทย) จำกัด. บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาสน์.