ภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ของเกษตรกรในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

Main Article Content

นฤมล สมคุณา
เอกสิทธิ์ สมคุณา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้สมุนในการเลี้ยงไก่พื้น
เมืองของเกษตรกรในจังหวัด 2) ศึกษาองค์ความรู้ของเกษตรกรที่เกิดจากการใช้สมุนไพรในการเลี้ยง
ไก่พื้นเมือง และ 3) ศึกษาการยอมรับการเลี้ยงไก่พื้นเมืองด้วยสมุนไพรของเกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย
เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในชุมชนบ้านถลุงเหล็ก หมู่ 1 9 และ 15 ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 10 ราย คัดเลือกด้วยวิธีจำเพาะเจาะจง และได้ผ่านการอบรมถ่ายทอด
องค์ความรู้จากการวิจัยการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และได้ทดลองเลี้ยง
ไก่พื้นเมืองด้วยสมุนไพร ทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 8 เดือน รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์
ครัวเรือน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบการถามและสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และ
นำเสนอด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนใหญ่เลี้ยงไก่พื้นเมือง
แบบปล่อยให้หากินตามธรรมชาติ เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบดั้งเดิมที่มีการปฏิบัติมานาน มีการใช้
สมุนไพรบางชนิด เช่น ใบกระเพรา ใบมะกรูด ใบตะไคร้หอม หรือ ใบน้อยหน่า รองพื้นคอก ช่วย
ในการกำจัดไรเหาไก่ และมีการใช้สมุนไพรในการถ่ายพยาธิภายใน ได้แก่ เนื้อในหมากสุก อาหาร
ที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็นรำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก ใบตำลึง ผักโขม หรือเศษอาหารในครัวเรือน มี
การเสริมด้วยอาหารข้นบ้าง ไม่มีการทำวัคซีน และเมื่อไก่เจ็บป่วยเกษตรกรจะซื้อยาจากร้านขายยา
สัตว์มาผสมนํ้าให้ไก่กิน ภายหลังจากการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยการใช้ประโยชน์
จากสมุนไพร ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และให้เกษตรกรทดลองเลี้ยงไก่พื้นเมืองด้วยสมุนไพร เป็น
ระยะเวลานาน 13 สัปดาห์ จากนั้นประชุมกลุ่มเกษตรกรและจัดการความรู้เรื่องเลี้ยงไก่พื้นเมืองด้วย
สมุนไพร พบว่า เกษตรกรเกิดองค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้เลี้ยงไก่พื้น
เมือง การจัดการให้อาหาร การสุขาภิบาลที่ดี การทำวัคซีนตามโปรแกรมที่กำหนด การเก็บข้อมูล
สมรรถภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซาก การคำนวณต้นทุน การผลิต และผลกำไรตอบแทน และ
เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีการยอมรับการใช้สมุนไพรในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เนื่องจากมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้เลี้ยงไก่พื้นเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กานต์สิรีเกศ เลิศสรรสิริ, ธีรชัย หายทุกข์, เทิดศักดิ์ คำเหม็ง และพีระพงษ์ แพงไพรี. (2558).
ผลของระบบการเลี้ยงและพื้นที่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อสมรรถภาพการสืบพันธุ์ในสภาพ
ชุมชนชนบท. แก่นเกษตร, 43 ฉบับพิเศษ 1 : 20-25.
จุรีพร กาญจนการุณ และวาสนา วงค์ฉายา. (2553). การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร
ของชุมชนบ้านยองแหละ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร. 4(1): 92-101.
นฤมล สมคุณา, เอกสิทธิ์ สมคุณา และคัชรินทร์ ภูนิคม. (2561). การพัฒนายาถ่ายพยาธิจากสมุนไพร
สำหรับไก่พื้นเมือง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ประภา เหล่าไพบูลย์, สุพัตรา จันทร์ศิริโพธา และเรืองอุไร ตัณฑ์เจริญรัตน์. (2556). ภูมิปัญญาการใช้
สมุนไพรในไก่พื้นเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง,
1(1): 22-32.
วิทธวัช โมฬี และปภาพินท์ พุทธรักษา. (2553). การเลี้ยงไก่แบบปล่อย (Free-range chicken)
ก้าวเริ่มต้นของการเลี้ยงไก่เนื้อแบบอินทรีย์. เกษตรสุรนารี. หน้า 30-35.
สาโรช ค้าเจริญ และเยาวมาลย์ ค้าเจริญ. (2560). อาหารและการให้อาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง.
เรียบเรียง ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
Choprakan, K. Wongpichet, K. (2007). Village chicken production systems in Thailand.
A review paper from Deutshe Gesellschaft fur Technische Zusammenarbeit
GmbH (GTZ).
Hossein, S. and Dahlan, I. (2015). Growth performance of free-range village chickens
fed dehydreated processed food waste. Mal.J. Anim.Sci. 18(1): 77-86.
Husak, R.L., Sebranek, J.G. and Bregendahl, K. (2008). A survey of commercially
available broilers marketed as organic, free-range and conventional broilers
for cooked meat yields, meat composition, and relative value. Poultry
Science, 87: 2367-2376.
Jaturasitha, S., A. Kayan, and M. Wicke. (2008a). Carcass and meat characteristics
of male chickens between Thai indigenous compared with improved layer
breeds and their crossbred. Arch. Tierz., Dummerstorf. 5(3): 283-294.
Jaturasitha, S., Srikanchai, T., Kreuzer, M. and Wicke, M. (2008b). Differences in
carcass and meat characteristics between chicken indigenous to Northern
Thailand (black-boned and Thai native) and imported extensive breeds
(Bresse and Rhode Island Red). Poultry Science, 87: 160-169.
Narumon Somkuna, Chot Rachwicha, Teeradech Ownhinkong, Prakasit Sukpadung,
and Sathaporn Ang-sanu. (2015). Effects of Dietary Supplementation of
Turmeric (Curcuma longa Linn.) on Productive Performances and Carcass
Characteristics of Broilers. In Proceedings: The 3rd International Academic
& Research Conference of Rajabhat University (INARCRU II) at Nakhon Si
Thammarat Rajabhat University, May 20-21, 2015.
Narumon Somkuna, Eakkasit Somkuna, Jarous Sawangtap, and Phinithi Rachwicha.
(2017). Increasing Productive Performance of Native Chickens by Herbs
in Rural Community. In Proceedings of The 2nd International Conference
on Animal Nutrition and Environment (ANI-NUE2017) November 1-4, 2017.
Pym, R.A.E. and Alders, R.G. (2012). Introduction to village and backyard poultry
production. In Alternative systems for poultry-Health, welfare and productivity.
Editor by Vitoria Sandilands and Paul M. Hocking. Carfax Publishing Company,
Oxfordshire, UK.
Rodenburg, T.B., De Reu, K. and Tuyttens, F.A.M. (2012). Performance, welfare, health
and hygine of laying hens in non-cage systems in comparison with cage
systems. In Alternative systems for poultry-Health, welfare and productivity.
Editor by Vitoria Sandilands and Paul M. Hocking. Carfax Publishing Company,
Oxfordshire, UK.
Somkuna, N., Sawangtap, J., Kittichaisri, D., Chantnew, N., Jumsil, U., Tip-aksorn,
and Somkuna, E. (2015). Utilization of Local Thai Herbs on Productive
Performances of Native Crossbred Chickens. KHON KEAN AGRICULTURAL
JOURNAL, 43 (Suppl.): 117-121.
Wang, K.H., Shi, S.R., Dou, T.C. and Sun, H.J. (2009). Effect of a free-range raising
system on growth performance, carcass yield, and meat quality of slow-growing
chicken. Poultry Science, 88: 2219-2223.
Wattanachant, S., Benjakul, S., and Ledward, D.A. (2008). Micro structure and thermal
characteristics of Thai indigenous and broiler chicken muscles. Poultry
Science, 84: 328-336.