ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของบุคลากร ระดับปฏิบัติการภาคอุตสาหกรรม กรณีศึกษาเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์
ณัฐวุฒิ ชูขวัญ
ทศพร แก้วขวัญไกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสภาพ
แวดล้อมส่งผลการส่งเสริมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของบุคลากรระดับปฏิบัติการภาค
อุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยได้แก่สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม
จำนวน 5 คน และบุคลากรระดับปฏิบัติการในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมจำนวน 200 คน
การศึกษาใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม
และการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับบุคลากรระดับปฏิบัติการซึ่งปฏิบัติงานในสถานประกอบ
การภาคอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาพบว่า
ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมส่งผลเชิงบวกต่อการส่งเสริมความปลอดภัย
ในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในภาคอุตสาหกรรมตามลำดับ องค์ความรู้ด้านการนำ
นวัตกรรมมาใช้ในองค์กรทำให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของบุคลากร ปัจจัยปัจจัยส่วน
บุคคลเป็นปัจจัยที่ควบคุมยากซึ่งต้องใช้ระยะเวลาที่จะทำให้บุคลากรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีความ
ตระหนักต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

จันทวรรณ ศรีภูมินทร์. (2549). กลยุทธ์การจัดการด้านความปลอดภัยของสถานประกอบการ
อุตสาหกรรมในเขตจังหวัดสมุทรสาคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนัตถา กรพิทักษ์. (2544). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการท้างานในโรงงาน
อุตสาหกรรมปั๊มโลหะ จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สถาบันราชภัฎพระนคร.
รัตนาภรณ์ เพ็ชรประพันธ์. (2544). การประเมินระดับเสียงและมรรถภาพการได้ยินของพนักงาน
โรงงานโม่หิน.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2560- 2564. กรุงเทพฯ. สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานประกันสังคม. (2561). ข้อมูลสถิติกองทุนประกันสังคม. ค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2561
จาก https://www.sso.go.th/wpr/main/knowledge/ข้อมูลสถิติกองทุนประกันสังคม
_category_list-label_1_168_0
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2561). สถานการณ์โรค. ค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม
2561 จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/669
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์. (2561). การลงทุนด้านอุตสาหกรรม. บุรีรัมย์. สำนักงาน
อุตสาหกรรมจังหวัด ไอที 24 ชั่วโมงเทคโนโลยีใกล้ตัวเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น. (2561).
ไทยแลนด์ 4.0 ค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561 จาก https://www.it24hrs.com/2017/
thailand-4-0/Nunnally, Jum C.and Bernstein,Ira H. (1994). Psychometric
Theory. New York, NY: McGraw-Hill.