ผกามาศ บุตรสาลี แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ของชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ของชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

Pakamat Butsalee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษารูปแบบการเพิ่มมูลค่าสินค้าของชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศึกษาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนในเป้าหมายในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 พื้นที่ ประกอบด้วย เทศบาลตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธรองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำใส อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด และองค์การบริหารส่วนตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)


ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ชุมชมมีการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้การนำของประธานกลุ่ม ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานกับสมาชิกกลุ่ม โดยรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนมีแนวทางในการบริหารจัดการกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการกลุ่ม จะมีแนวทางในการดำเนินงานโดยการใช้ผู้นำชุมชน หรือผู้ที่มีความรู้เป็นตัวขับเคลื่อน โดยการให้ผู้นำหรือผู้ที่มีความรู้เป็นประธาน/เป็นหัวหน้ากลุ่มในการดำเนินงาน ส่งผลให้กลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น และ 2) กลุ่มที่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ทำให้กลุ่มมีปัญหา เนื่องจาก ในการดำเนินงานกลุ่มยังขาดผู้นำที่มีจิตอาสาในการขับเคลื่อน ยังมีการมุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนร่วม ไม่มีการเสียสละเวลา และบุคคลที่เป็นผู้นำหรือประธานกลุ่มจะมาจากบุคคลที่เป็นสมาชิกที่ไม่ใช้ผู้นำภายในชุมชน ดังนั้น กระบวนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านการบริหารจัดการชุมชน พบว่า ชุมชนควรมีการบริหารจัดการกลุ่มร่วมกับโดยผ่านกระบวนการและวิธีการต่าง ๆ  ดังนี้ 1.1) การเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของชุมชน 1.2) ความเข้มแข็งหรือศักยภาพในการบริหารงานของผู้นำ 1.3) การมีกฎ กติกา หรือระเบียบในการดำเนินงานที่ใช้ร่วมกัน 1.4) องค์ความรู้ในการดำเนินงานของกลุ่ม และ 1.5) การใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานร่วมกัน 2) การศึกษารูปแบบการเพิ่มมูลค่าสินค้าของชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ชุมชนมีรูปแบบการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ภายใต้การบริหารจัดการของผู้นำชุมชนและประธานกลุ่ม ดังนั้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้าของชุมชนมีกระบวนการ ดังนี้ 2.1) ชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์เดิมจะดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย การสร้างเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน การลดต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ลงโดยการให้ความรู้กับสมาชิกกลุ่ม เช่น วิธีการคิดต้นทุน การจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากขึ้น และการกำหนดราคาสินค้า เป็นต้น และ 2.2) ชุมชนที่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์แต่มีวัตถุดิบภายในชุมชน จะดำเนินการโดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มาจากความต้องการของชุมชน ชุมชนสามารถทำได้เอง โดยใช้องค์ความรู้ วัตถุดิบ และวิธีการที่มีอยู่ภายในชุมชน ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้น และ 3) การศึกษาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของชุมชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า ชุมชนมีการพัฒนาช่องทางการจัดหน่ายสินค้าด้วยวิธีการหลากหลาย ได้แก่ การจำหน่ายสินค้าผ่าน Facebook Line และการวางจำหน่ายหน้าร้านค้าชุมชน โดยช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าจะได้รับการหนุนเสริมผ่านผู้นำองค์กรหรือผู้กลุ่ม เช่น นายกเทศบาลตำบลหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความกว้างขวางเป็นที่รู้จักของบุคคลหลาย ๆ คน ส่งผลให้สินค้าสามารถจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น



 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์. (2551). แนวทางการพัฒนาธุรกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น. 3(1) : 55 - 63.
ทวี วัชระเกียรติศักดิ์. (2559). “การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการพัฒนากลุ่มอาชีพในพื้นที่องค์การ
บริหารส่วนตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา” วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคม
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี. ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2559. 5(1) : 43-54.
ธีรพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2553). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ :
คลังนานาวิทยา.
นรินทร์ สังข์รักษา และคณะ. (2551). ผลดีของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกระบวนการเรียนรู้และ
การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักงาน
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ลักษมี เสือแป้น. (2555). ความสำเร็จของการพัฒนากลุ่มอาชีพและความเชื่อมโยงกับการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพสตรีแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าบ้านเขาสะพายแร้ง ตำบลสนามแย้ อำเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (พัฒนาศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2553). “กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง : รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัด.”
วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 8(2) : 119 - 158.
วรวิทย์ อวิรุทธ์วรกุล และอมราวรรณ ทิวถนอม. (2552). “การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคง
ของประเทศไทย.” วารสารเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 46(2) :
45-54.
วิทยา จันทร์แดง. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. วิทยานิพนธ์ รป.ด.(วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2544). แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2546-2549). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
อัจฉรา มลิวงค์ และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2554). “รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน นวดแผนไทยบ้านแม่ทะ ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง.” เอกสารการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
แม่โจ้-แพร่ วิจัย ครั้งที่ 2. 1-2 กันยายน 2554. แพร่ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
อุทัย ดุลเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. (2550). ระบบการศึกษาชุมชน : กรอบความคิดและข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Crowe J. A. ( 2006) . “Community Economic Development Strategies in Rural Washington : Toward a Synthesis of Natural and Social Capital.” Rural Sociology. 71(4) : 573-596.