การเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามมาตรฐานคุณภาพ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษาบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

กัลยานี เดชประทุม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการพัฒนาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) ประเมินประสิทธิภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตามมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้บริหารในแหล่งท่องเที่ยวหรือผู้นำชุมชนหรือผู้นำที่จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในเขตพื้นที่บ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว จำนวน 452 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญพบ(Accidental Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า

1. ความเร่งด่วนของปัญหาที่จะต้องแก้ไขในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่จัดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านศักยภาพการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้านศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เกษตร และด้านศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

2. ความเร่งด่วนของปัญหาที่จะต้องแก้ไขในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่จัดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านศักยภาพการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

3. เรื่องความพึงพอใจต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่จัดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านศักยภาพการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและ ด้านศักยภาพการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

4. ส่วนความพึงพอใจต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่จัดอยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ ด้านศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ ด้านศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

5. สำหรับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านเพศมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6. และเมื่อผู้วิจัยเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความเร่งด่วนของปัญหาต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Increase of Development Efficiency of Agro-tourism Based on Quality Standard of Agro-tourism Sources: A Case Study of Ban Khokmuang in Prakhonchai District, Buriram Province

The purposes of this research were 1) to study general conditions and problems in developing agro-tourism sites, 2) to evaluate the potential of agro-tourism sites, 3) to propose the guidelines for developing agro-tourism based on quality standard of agro-tourism sources. The population of this study was 452 participants including of a group of on-site-administrators, community leaders, or the leaders who organize activities about agro-tourism in Ban Khok Muang Village, Jorakhemak Sub-district, Prakhonchai District, Buriram Province, and Thai tourists, with accidental selection sampling. The instruments used for data collection were questionnaires and interview. The data obtained were analyzed by using descriptive statistics: frequency, percentage. The results of this study revealed that:

1. Problems of developing ego-tourism sources in the aspect of management efficiency, service capacity efficiency, and attraction efficiency were overall found at the highest level of urgency.

2. Problems of developing ego-tourism sources in the aspect of capacity efficiency was also overall found at the highest level of urgency. 3. The sample’s satisfaction with the aspect of management efficiency and service capacity efficiency were overall found at a high level.

4. The sample’s satisfaction with the aspect of service capacity efficiency and attraction efficiency were overall found at the highest level.

5. There were significant differences of the opinions between male and female on the factors affecting the level of satisfaction towards the agro-tourism development at the .05 level.

6. There was no difference as a whole, in the aspect of the attractive efficiency of agro-tourism, in comparing the samples’ opinions on the factors affecting the urgency level of problems in developing agro-tourism at Ban Khok Muang Village, Jorakhemak Sub-district, Prakhonchai District, Buriram Province.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)