การพัฒนาทักษะด้านการวิจัยจากโจทย์ปัญหาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับความเชื่อในการอบรมเลี้ยงดูเด็กใน 8 ชาติพันธุ์ จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

สมภัสสร บัวรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยจากโจทย์ปัญหาภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2) เพื่อศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กในชนเผ่า ไท-ยวน และ ชนเผ่าไทยมอญ จังหวัดราชบุรี

ประชากรเป้าหมายในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) นักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 26 คน 2) ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อในการอบรมเลี้ยงดูเด็กของชนเผ่าไท-ยวน และชนเผ่าไทยมอญ จังหวัดราชบุรี จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการวิจัย และแบบสัมภาษณ์ความเชื่อในการอบรมเลี้ยงดูเด็กของชนเผ่าไท-ยวนและชนเผ่าไทยมอญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัยพบว่า

1) นักศึกษาทุกคนที่ได้รับการพัฒนาทักษะการวิจัย มีคะแนนทักษะการวิจัยหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา

2) ความเชื่อเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กในชนเผ่าไท-ยวนและชนเผ่าไทยมอญ จังหวัดราชบุรีแสดงออกด้วยพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การเรียกขวัญ การซ่อนผี แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมก็ถูกความทันสมัย เทคโนโลยีทำให้วิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมดั้งเดิมเริ่มมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ตามยังมีความเชื่อที่ยังคงสืบทอดต่อไปโดยไม่หวั่นไหวต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ ได้แก่ การโกนจุก การไหว้ผี ของชนเผ่าไทยมอญ

 

Research Skills Improvement of the Students from Muban Chombeung Rajabhat University by Formulating Research Questions Based on the Local Wisdom about Belief in Child Rearing among Eight Ethnic Groups in Ratchaburi Province

The purposes of this research were: 1) to develop research skilled of student from Muban Chombueng Rajabhat University by formulating research questions based on the local wisdom 2) to study of belief in child rearing of Thaiyuan tribe and Thaimon tribe in Ratchaburi Province. The target population was 26 students in Muban Chombueng Rajabhat University and 19 participants from Thaiyuan tribe and Thaimon tribe in Rachaburi. The instrument used included the research skill test and the belief in child rearing structured interviewing.

The data analyzed was the content analysis for the qualitative data and percentage, mean , standard deviation for the quantitative data.

The research results were as follow :

1) All Students who received the research skilled improvement increased their scores higher than before improvement.

2) The belief in child rearing of Thaiyuan tribe and Thaimon tribe in Rachaburi Province conveyed via their customs as hearten ceremony, concealed wraith. By the time, their old traditional way of life was influenced and altered since modernization and technology world came to replace. However, there was old culture conservation carrying on by them, against the modern world trends such as shaved ceremony, spiritual worship ceremony in Thaimon tribe.

Article Details

บท
บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)