การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

Main Article Content

วัชรินทร์ เจริญรัมย์
สมศักดิ์ จีวัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคณิตศาสตร์ เรื่องสมการและการแก้สมการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านโชคกราด จำนวน 19 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ค่าที (Dependent Samples t – test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 84.56 /83.35 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการ และการแก้สมการ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ และการแก้สมการอยู่ในระดับมาก ( = 4.49)

 

A Development of Mathematics Computer–Assisted Instruction Entitled “Equation and Solving Equation” for Prathomsuksa 6 Students

The purposes of this research were 1) to develop a computer–assisted instruction (CAI) entitled “Equation and Solving Equation” for Prathomsuksa 6 students, 2) to compare the students’ learning achievement after and before using CAI, and 3) to study the students’ satisfaction towards studying with CAI. The samples were 19 Prathomsuksa 6 students of Banchokrad school. The study was conducted in the first semester of the 2009 academic year. The research instruments were learning management plans, mathematics computer – assisted instruction entitled “Equation and Solving Equation” for Prathomsuksa 6 students and a contentment questionnaire.The data were analyzed through percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t - test.

The results of this research were 1) The efficiency of the mathematics computer – assisted instruction entitled “Equation and Solving Equation” for Prathomsuksa 6 students was 84.56 /83.35 which was higher than the set criteria 80/80 2) the students’ learning achievement after using the computer – assisted instruction entitled “Equation and Solving Equation” was significantly higher than the achievement of the pretest at .05 level. 3) The students’ contentment was at good level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)