การยอมรับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ที่นำมาจัดการความขัดแย้งของชุมชน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

กมลชนก คงเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการยอมรับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่นำมาจัดการความขัดแย้งของชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ใน 3 กรณี คือ (1) การยอมรับในด้านกระบวนการ (2) การยอมรับในด้านการชดใช้เยียวยาแก่ผู้เสียหาย (3) การยอมรับในด้านความสงบสุขที่เกิดขึ้นภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ อำเภอที่อาศัย ระดับการศึกษา และความสัมพันธ์กับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชน โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ผลการวิจัยมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ในโครงการหน่วยปฏิบัติการยุติธรรมเคลื่อนที่ จาก 11 อำเภอ จำนวน 400 คน และเชิงคุณภาพ ได้แก่ คณะทำงานศูนย์ยุติธรรมชุมชน ศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับผู้กระทำผิด ผู้เสียหาย จำนวน 5 คน และข้าราชการ พนักงาน ที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน ใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่, อัตราส่วนร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ใช้สถิติการทดสอบแบบไคสแควร์ ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS (Statistic Package for Social Science)

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ตัวแปรอาชีพ ตัวแปรภูมิลำเนา และตัวแปรความเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชนมีความสัมพันธ์กับการยอมรับต่อกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่นำมาจัดการความขัดแย้งของชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทราในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ส่วนตัวแปรเพศ ตัวแปรอายุ และตัวแปรระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับต่อกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ที่นำมาจัดการความขัดแย้งของชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทราในทุกด้าน

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ในด้านกระบวนการมีความเหมาะสม ในด้านการชดใช้เยียวยาเหมาะสมกับความเสียหายที่คู่กรณีได้รับเป็นบางกรณี ถ้าหากเป็นความเสียหายเรื่องทรัพย์ ก็จะชดใช้เป็นตัวเงิน แต่หากเป็นความเสียหายทางด้านจิตใจ อาจวัดเป็นรูปธรรมได้ยากกว่า ในด้านความสงบสุขภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ การปรับความสัมพันธ์ให้กลับมาดีดังเดิม เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ก็สามารถเป็นไปได้ ในกรณีที่เกิดจากความยินยอมของคู่กรณี และได้รับประโยชน์ร่วมกัน ก็อาจจะสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกันต่อไปได้

 

ACCEPTANCE OF THE RESTORATIVE JUSTICE PROCESS TO MANAGE THE COMMUNITY CONFLICTS IN CHACHOENGSAO PROVINCE

The purpose of this research was to study the acceptance of the Restorative Justice process to manage the community conflicts in Chachoengsao province in 3 cases : (1) Acceptance in the process (2) Acceptance in the compensation to the victims and (3) Acceptance in the peace after finishing the process classified by gender,age, career, domicile,education level and relationship with the Restorative Justice process in the community. Quantitative and qualitative researches were conducted to get more perfect results. The sampling group in the quantitative research consisted of 400 participants in the activities of the offices under Ministry of Justice in Chachoengsao province in the projects of mobile judicial units from 11 districts and in the qualitative research composed of 10 people: 5 persons from the associates in the judicial center of the community, the center for conflict arbitration and mitigation, the relatives of the offender and the victim and 5 persons of civil servants and officials working in the Restorative Justice process. The instruments used in the research were questionair and interview. The statistics used for analyzing the data were frequency distribution, percentage, standard deviation and test of relationship value between the independent and dependent variables with the Chisquar analysis. The statistical significance at 0.05 was analyzed by SPSS for Windows. The quantitative results of the research were found that the variables of career, domicile and involvement in the conciliatory judicial process in the community had a relationship with the acceptance of the Restorative Justice process to manage the community conflicts in Chachoengsao province in every aspect at significance of 0.05 while the variables of gender, age, education level had no relationship with the Restorative Justice process to manage the community conflicts in Chachoengsao province in every aspect.

The qualitative results of the research were found that the process was appropriate, the compensation was appropriate for the damage of the person involved in some aspects if the damage of property was compensated with money. The damage of mind might be more difficult to measure. The pace after finishing the process and the reconciliation of relationship were difficult, but they could be possible if the persons involved agreed and shared the benefits. They could do other activities together.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)