พฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1

Main Article Content

มนูญ อุตรินทร์
สมศักดิ์ คงเที่ยง
รัตนา กาญจนพันธุ์
เพ็ญศรี เศรษฐวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการ ความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้านการเอาชนะ เท่ากับ 0.98 ด้านการร่วมมือ เท่ากับ 0.90 ด้านการประนีประนอม เท่ากับ 0.97 ด้านการหลีกเลี่ยง เท่ากับ 0.95 และด้านการยอมให้ เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 มีพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งวิธีการเอาชนะอยู่ในระดับตำ ส่วนวิธีอื่นอยู่ในระดับปานกลาง

2. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ที่มีเพศต่างกันมีพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งไม่แตกต่างกัน

3. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ที่มีประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งแตกต่างกันในวิธีการเอาชนะและการยอมให้ เมื่อพิจารณารายคู่พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ 0-5 ปี กับผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 11 ปี ขึ้นไป มีพฤติกรรมความขัดแย้งแตกต่างกัน ส่วนวิธีการร่วมมือ วิธีการประนีประนอม และวิธีการหลีกเลี่ยง มีพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งไม่แตกต่างกัน

4. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ที่บริหารงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งแตกต่างกันในวิธีการหลีกเลี่ยง และการยอมให้ ส่วนวิธีการเอาชนะ การร่วมมือ และการประนีประนอม มีพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งไม่แตกต่างกัน

 

Conflict Management Behaviors of School Administrators Under the Jurisdiction of the SamutPrakan Primary Educational Service Area Office 1

In this thesis, the researcher aimed to (1) investigate the conflict management behaviors of school administrators under the jurisdiction of SamutPrakan Primary Educational Service Area Office 1. (2) to compare the conflict management behaviors of the school administrators under study as classified by the demographical characteristics of gender, experience in school management, and school size. The sample population consisted of 110 school administrators under the jurisdiction of the SamutPrakan Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2010. The instrument of research was 5 parts questionnaire divided into items concerning utilization of the methods of competition, collaboration, compromise, avoiding and accommodation. The reliability of 5 sections was couched at the reliability of 0.98, 0.90, 0.97, 0.95 and 0.98 respectively. Using technique of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of frequency, percentage, mean and standard deviation. The technique of inferential statistics of t-test and one-way analysis of variance (ANOVA) were also employed by the researcher.

Findings are as follows :

1. The school administrators exhibited conflict management behaviors using the method of competition at a low level. Other methods were found to be utilized at a moderate level.

2. The school administrators who differed in the demographical characteristic of gender failed to evince concomitant differences in conflict management behaviors.

3. The school administrators who differed in the demographical characteristic of management experience exhibited corresponding differences in conflict management behaviors utilizing the methods of competition and accommodation. Nevertheless, on the basis of multiple comparison analysis, it was found that school administrators with managerial experience of 0-5 years and those with 11 years or more of such experience displayed differences in conflict management behaviors. There were no differences found in respect to the utilization of the methods of collaboration, compromise and avoidance in conflict management

4. The school administrators who differed in the demographical characteristic of school size manifested corresponding differences in conflict management behaviors in respect to the methods of avoidance and accommodation. However, no differences were found regarding the use of the methods of competition, collaboration and accommodation in conflict management behaviors.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)