การพัฒนาชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อนงค์ แก่นอินทร์
มาลิณี จุโฑปะมา
ประคอง กาญจนการุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองตระเสก อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ชุด ซึ่งผ่านการหาประสิทธิภาพ (E1/ E2) โดยการทดลองกับกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเล็กแบบหนึ่ง ต่อหนึ่ง ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 71.11/76.67 พบข้อบกพร่องนำไปปรับปรุงแก้ไข แล้วทดลองกับ กลุ่มย่อย ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 79.63/80.23 ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง และเพิ่มเติมในส่วนที่ ไม่สมบูรณ์แล้วไปทดลองกับกลุ่มใหญ่หรือภาคสนามได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.08/85.38 แผนการ จัดการเรียนรู้ประกอบการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็น แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t –test (Dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.19 / 85.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

DEVELOPMENT OF LEARNING PACKAGE TO ENHANCE THE FUNDAMENTAL SCIENTIFIC PROCESS SKILLS FOR PRATHOMSUKSA VI STUDENTS

The aims of this research were 1) to develop the learning package for enhancing the fundamental scientific process skill for students in Prathomsuksa 6 to meet the criteria set at 80/80 ; 2) to compare the learning achievement of students in Prathomsuksa 6 through the learning package for enhancing the fundamental scientific process skills ; and 3) to study the satisfaction of students in Prathomsuksa 6 toward the learning package for enhancing the fundamental scientific process skills. The purposive sampling group was one class of 21 Prathomsuksa 6 students studying in the second semester of the academic year 2011 at Bannongtrasek School, Krasang District, under Buriram Primary Educational Service Area Office II selected by simple random sampling. The research instruments consisted of learning package for science process skill development : 1) six learning packages for enhancing the fundamental scientific process skills ; 2) 6 lesson plans for instructing with learning packages for enhancing the fundamental scientific process skills ; 3) an 40 multiple choices fundamental scientific process skill achievement test for students in Prathomsuksa 6 ; and 4) an 10 – item of 5 – rating scale satisfaction questionnaire. These instruments were test efficiency (E1/ E2) by testing 3 groups : the efficiency of one by one group was 71.11/76.67 after that them were improved and test in sub group, the efficiency was 79.69/80.23 and the efficiency of filed group was 82.08/85.38. The collected data were analyzed by using basically statistic; mean, percentage, and standard deviation. The hypotheses were tested by using the t – test (Dependent Sample).The finding were as follows : 1. The learning package for enhancing the fundamental scientific process skill for students in Prathomsuksa 6 has the efficiency was 86.19/85.71 which was higher than the criteria set at 80/80. 2. The learning achievement of students in Prathomsuksa 6 learning through the learning package for enhancing the fundamental scientific process skills showed that the posttest mean score was higher than pretest mean score with statistical significant difference at .01 level. 3. The students in Prathomsuksa 5 were satisfied at highest level toward the learning package to enhancing the fundamental scientific process skills.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)