การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD

Main Article Content

นารี ศรีปัญญา
กระพัน ศรีงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ก่อนเรียน และหลังเรียน 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาลาว ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 17 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน จำนวน 15 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.73 ค่าความยากตั้งแต่ 0.37- 0.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.65/85.29 ซึ่งผ่านเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน มีค่าเท่ากับ 0.7 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.7

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

The development of reading and writing skill exercises in Thai learning area for students in Prathomsuksa 3 by cooperative learning STAD technique

The purposes of this research were : 1) to develop the reading and writing skill exercises in Thai learning area for students in Prathomsuksa 3 to meet the efficiency criteria set at 80/80 ; 2) to compare the students’ learning achievement learned with the reading and writing skill exercises in Thai learning area for students in Prathomsuksa 3 by cooperative learning STAD technique before and after learning ; 3) to study the effectiveness index of learning with the reading and writing skill exercises ; and 4) to study the students’ satisfaction towards learning with the reading and writing skill exercises. The samples were 17 students in Prathomsuksa 3 of Ban Nalao school who were studying in the first semester of academic year 2012. They were recruited by purpose sampling. The research instruments were : 1) 15 sets of the reading and writing skill exercises ; 2) 15 lesson plans ; 3) a 30-item of achievement test with the discrimination value between 0.20-0.73, the difficulty value between 0.37-0.80, and the reliability value at 0.93 ; and 4) a 10-item with 5-rating scale of the students’ satisfaction questionnaire towards learning with the exercises. The statistics used to analyze the data were mean, percentage, and standard deviation. The hypothesis was tested by dependent samples t-test.

The results were as follows:

1. The efficiency of the reading and writing skill exercises in Thai learning area for students in Prathomsuksa 3 was at 87.65/85.29 which met the criteria set at 80/80.

2. The students’ learning achievement learned with the reading and writing skill exercises in Thai learning area for students in Prathomsuksa 3 by cooperative learning STAD technique after learning was higher than before learning at the .01 level of statistical significance.

3. The effectiveness index of learning with the reading and writing skill exercises was 0.7 which showed that the students’ knowledge increased 0.7

4. The students’ satisfaction towards learning with the reading and writing skill exercises was at the highest level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)