ปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาของโรงเรียนการเสริมพลังการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐานที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

สาลินี ปราณีสร
องอาจ นัยพัฒน์
ละเอียด รักษ์เผ่า

บทคัดย่อ

ความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และคำน้ำหนักความสำคัญที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการสอนของครูประจำชั้นเรียนกลุ่มตัวแปรปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาของโรงเรียนในด้านลักษณะของผู้บริหารและสถานศึกษา ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ขนาดของสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ในด้านลักษณะของผู้สอน ประกอบด้วย ประสบการณ์ในการสอน วุฒิทางการศึกษาของครู และภาระงานของครู การเสริมพลังการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐานประกอบด้วยการทำงานอย่างมีอิสระ การมีส่วนร่วมในการทำงานและการประเมินตนเองและพร้อมรับการตรวจสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ปฏิบัติการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บุรีรัมย์จำนวน 428 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาของโรงเรียนด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารและสถานศึกษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน การเสริมพลังการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐาน และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (National Test) ในปีการศึกษา 2550 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธี Blockwise Method ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการสอนของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับพอใช้

2. ตัวแปรปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาของโรงเรียน คือ ขนาดของสถานศึกษาขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับสถานศึกษาขนาดเล็ก สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและวุฒิทางการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีเมื่อเทียบกับวุฒิทางการศึกษาปริญญาตรี ตัวแปรการเสริมพลังการสอนโดยใช้การประเมิน เป็นฐาน คือ การทำงานอย่างมีอิสระร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการสอนของครูประจำชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ส่งผลทางบวกต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตัวแปรขนาดของสถานศึกษาขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสถานศึกษาขนาดเล็ก ส่งผลทางลบต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การทำงานอย่างมีอิสระส่งผลทางลบต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ และในรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และตัวแปรวุฒิทางการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีเมื่อเทียบกับวุฒิทางการศึกษาปริญญาตรี ส่งผลทางบวกต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์และในรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการสอนของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

 

A STUDY OF BASIC EDUCATIONAL SCHOOL FACTORS AND FACTORS OF TEACHING EMPOWERMENT USING AN EVALUATION BASE OF TEACHERS RELEATED TO MATHEMATICS AND THAI LANGUAGE LEARNING OUTCOMES OF THIRD GRADE STUDENTS

This quantitative research was aimed to study the level of Mathematics and Thai Language learning outcomes of the third grade students and the relationship between basic educational school factors and factors of teaching empowerment using an evaluation base with Mathematics and Thai Language learning outcomes of the third grade students which was an indicator of teaching quality. It also studied the important degree of individual factor as stated above. The 428 third grade teachers teaching Mathematic and Thai Language under the office of Education, Buriram District during the second semester of 2550 academic year were two–stage randomly selected to answer questionnaires. The questionnaires included the basic educational school factors in terms of (1) administrators, leadership and (2) school environment and factors of teaching empowerment using an evaluation base, whose reliabilities were .96, .92, and .88 respectively. The data were analyzed by Multiple Regression Analysis using Blockwise enter selection method.

The results of the study were as follows:

1. The level of Mathematics and Thai Language learning outcomes of third grade students was fairly good.

2. The factors of basic educational school which included large school size, school environment, postgraduate degree of teachers, and teaching empowerment using an evaluation base which was working freedom could together explain the variation and influence Mathematics and Thai Language learning outcomes of third grade students which pointed out teaching quality of the teachers at the statistically significant level of .05. The school environment could positively influence Mathematics Language learning outcomes of third grade students. The large school size could negatively influence Thai Language learning outcomes of third grade students. And working freedom of the teachers could negatively influence Mathematics and Thai Language learning outcomes of third grade students. However, postgraduate degree could positively influence Mathematics and Thai Language learning outcomes of third grade students that pointed out the teaching quality of the teachers.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)