ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Main Article Content

ยุภาวรรณ เผือกรักษา
สิน พันธุ์พินิจ
ทวีศักดิ์ พุฒสุขี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยที่มีผลต่อความ ผูกพันต่อองค์กร ระดับความผูกพันต่อองค์กร และข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความผูกพัน ต่อองค์กร ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานสายสนับสนุนจำนวน 195 คน ซึ่งคัดเลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที (t-test) ค่าทดสอบเอฟ (F-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานสายสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-40 ปี สมรสแล้ว จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 1-10 ปี ลักษณะงานที่ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ประสบการณ์จากการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร อยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส และระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติและลักษณะประสบการณ์จากการทำงาน มีความสัมพันธ์ ในทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กร พนักงานสายสนับสนุนให้ข้อเสนอแนะในการเสริมสร้าง ความผูกพันต่อองค์กร คือ ให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างพนักงานภายในคณะ วิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมสัมมนาผสานความร่วมมือ การเพิ่มความมั่นใจ ในสวัสดิภาพส่วนบุคคล และการเปิดโอกาสให้พนักงานระดับต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กร

 

Organizational Belongingness of the Supporting Staff Faculty of Science Chulalongkorn University

This article is the result of the research on organizational belongingness of the supporting staffs, Faculty of Science, Chulalongkorn University. Main purposes were to study individual characteristics, to identify factors relating to their organizational belongingness, to find out the degree of the supporting staff’s organizational belongingness and to propose plausible suggestions in order to enhance the degree of organizational belongingness among the supporting staff in the Faculty of Science. The aforementioned research was done by questionnaires and the sample were 195 supporting staffs obtained by simple random sampling. Statistical analyses use were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and Pearson’s Correlation.

The results show that most of the supporting staffs were female, aged between 21-40 years, married, holding bachelor degree and work experienced around 1-10 year. The organizational belongingness and work experiences of the supporting staffs of Faculty of Science was at the high level whereas their opinions towards job characteristics show at moderate level. When considering individual factors, the results point out that age, marital status and period of work experiences do affect the degree of organizational belongingness. Based on Pearson’s correlation method, the results represent that job characteristics and work experiences are positively correlated with the organizational belongingness. When personal attitude is the discussion in order to exchange ideas among the supporting staffs. The cooperation in activities of Faculty of Science should be organized to enhance the HYPERLINK “http://dict.longdo.com/search/reliance” reliance of personal welfare, to HYPERLINK “http://dict.longdo.com/search/ emphasize” emphasize performing one’s duty of the HYPERLINK “http:// dict.longdo.com/search/executive” executives , and to give an opportunity the HYPERLINK “http://dict.longdo.com/search/participation” participation in each the staff’s level for administration of their organization as well.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)