ความเข้มแข็งของชุมชนชาวส่วยบ้านหนองตาดำ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

วิยะดา แก้วก่อง
สุนันทา วีรกุลเทวัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความเข้มแข็งของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของ องค์กรชุมชนและทุกภาคส่วนในระดับชุมชนชาวส่วยบ้านหนองตาดำ ตำบลเย้ยปราสาท อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งของชุมชนกับ เกณฑ์หรือตัวบ่งชี้ความเข้มแข็งของชุมชน บ้านหนองตาดำ ตำบลเย้ยปราสาท อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 152 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่มีค่า เท่ากับ .8894 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

1. ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.3 อายุระหว่าง 11-50 ปี จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้ต่อเดือน 1,001-3,000 บาท ความเข้มแข็ง ของชุมชน พบว่า ด้านสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมและอาชีพอยู่ในระดับต่ำ ด้านจำนวนสมาชิกเข้าร่วม กิจกรรมและอาชีพ และด้านรายได้ของสมาชิกอยู่ในระดับปานกลาง เกณฑ์/ตัวบ่งชี้ ความเข้มแข็ง ของชุมชน ด้านความสามัคคี ด้านการมีผู้นำที่ดี ด้านการมีอาชีพ ด้านชุมชนพึ่งตนเองและ ด้านการมีรายได้พอเพียงอยู่ในระดับต่ำ

2. ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งของชุมชนกับเกณฑ์/ตัวบ่งชี้ ความเข้มแข็งของ ชุมชนด้านความหลากหลายอาชีพกับความสามัคคีในชุมชน ด้านความหลากหลายอาชีพกับการมี ผู้นำที่ดี และด้านความหลากหลายอาชีพกับการมีอาชีพ มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05

 

THE STRENGTHS OF SUAY COMMUNITY AT NONGTADAM VILLAGE, NONGKI DISTRICT, BURIRAM PROVINCE

The purpose of this research was to study the strengths of suay community through the participation of all organizations. The samples were 152 local suay people of Nongtadam Village, Nongki District, Buriram Province, selected by purposive sampling. The research instrument was a questionnaire with its reliability at .8894. The collected data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and Pearson product moment correlation Coefficient through the program of computer. The findings were as follows:

1. Most respondents were female (51.30%) with the age of 11-50 years old, graduated at the primary school levels. Their occpation was agriculture with the income of 1,000-3,000 Baht a month. The strengthen indicators of community were that participating of activities and occupation was at low level; whereas, the numbers of participating of activities and occupation, and the income of members were at moderate levels. The criteria/indicators of the strengths of community in the aspects of the unity, good governor, occupation, self reliance community and sufficient income were at low levels.

2. The relationships between the strength of the community and the criteria/indicators of the strengths of the community in the aspects of the various occupation between the unity of community, the various occupation between the good governor, and the various occupation between the occupation availability showed significant differences at the level of .05.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)