การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ณัฐณิชา สมศรีใส
จักรพงษ์ พวงงามชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ต้องการทราบถึงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรจำนวนทั้งสิ้น 393 ราย ใน 3 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์

การวิจัยพบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เกษตรกรเชื่อว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนหมดไป รักษาระบบนิเวศในดิน เป็นการส่งเสริม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และไม่ทำให้มีสารพิษตกค้างในอาหาร ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างแท้จริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการผลิต

ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ จำนวนแรงงานในครัวเรือน แรงงานจ้างชั่วคราว ขนาดพื้นที่ทำการเกษตร และการเป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์การเกษตรมีความสัมพันธ์อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร

ปัญหาที่พบ คือราคาปุ๋ยอินทรีย์ที่สูงขึ้น การขาดความรู้ในการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืช และสภาพดิน และไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล แนวทางแก้ไขคือรัฐบาลควร ควบคุมราคาปุ๋ย ให้งบประมาณสนับสนุนแก่เกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อควรจัดฝึกอบรมให้ ความรู้ด้านการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แก่เกษตรกร

 

ORGANIC FERTILIZERS APPLICATION OF FARMERS IN SURATTHANI PROVINCE

This study aimed to investigate organic fertilizers application of farmers; factors effecting organic fertilizer application, problems encountered and suggestions of organic fertilizer application. Respondents consisted of 393 farmers in 3 districts of Suratthani province. The data were collected by a set of questionnaire and analyzed by descriptive statistics and Chi-square test.

In general, the respondents made organic fertilizer application at a high level. They believed that this would reduce the environmental problem and it promoted natural resource conservation and maintaining ecology system in the soil. The followings were also perceived by the respondents, that is, no toxin contamination in food and helping increase yield quality, truely safe, and also helping cost reduction.

There was a statistically significant relationship between household workforce, temporary hired workers, size of cultivated land, being a member of agricultural cooperative group and organic fertilizer application of the respondents. Increasing of organic fertilizer price was regarded as the problem with lacked of fertilizer application knowledge and organic fertilizer was not financially supported by the government. Therefore, the government should control the price and support budget for organic fertilizers. Also, concerned agencies should provide farmers with trainings for the extension of various knowledge about organic fertilizer using.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)