การคุกคามทางเพศในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร : สาเหตุและข้อเสนอทางนโยบาย

Main Article Content

อัมพร ธำรงลักษณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในระดับมัธยมศึกษาใน กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจและการรับรู้ของนักเรียน มัธยมศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ลักษณะ รูปแบบของการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ประสบการณ์การคุกคามทางเพศที่นักเรียนเคยประสบในสถานศึกษานั้น ๆ รวมถึงสาเหตุของ การคุกคามทางเพศ และผลกระทบทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยเลือกโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 โรงเรียน (โรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน) ที่อยู่ในละแวกเดียวกันเพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษานี้ ทำการแจกแบบสอบถามโดยการสุ่มทั่วไป จำนวน 800 ชุด โรงเรียนละ 400 ชุด ผลการศึกษานี้ ได้จากการประมวลวิเคราะห์ทางสถิติด้วยค่าร้อยละ เพียร์สัน ไคสแควร์ (Pearson Chi-square) และ ค่าทดสอบที (Paired Samples t-test) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่นัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .05 และ .01 ซึ่งคาดว่าผลการศึกษานี้จะมีประโยชน์ในการนำเสนอเป็นนโยบาย ในการ บริหารจัดการ สร้างความร่วมมือ ป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อไป จากจำนวนแบบสอบถามที่ได้รับ กลับคืนมาทั้งหมด 783 คน คิดเป็นร้อยละ 97.88 ผลการศึกษาพบว่า

1. การให้ความหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งสอง โรงเรียนส่วนใหญ่ให้ความหมายของเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่เป็นพฤติกรรมรุนแรงทาง ร่างกาย ส่วนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้ความหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศใน รายละเอียดและหลากหลายมากขึ้นกว่ารวมถึงพฤติกรรมการคุกคามที่แสดงออกทางวาจาและ ท่าทาง

2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ นักเรียนทั้งสองโรงเรียนมีความเข้าใจ เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศไม่ค่อยแตกต่างกัน พฤติกรรมที่นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจน้อย คือ พฤติกรรมการคุกคามทางเพศที่มิได้กระทำต่อร่างกาย (Non-physical Sexual Harassment)ทั้งที่เป็นพฤติกรรมการคุกคามทางเพศทางวาจา (Verbal Sexual Harassment) และพฤติกรรม การคุกคามทางเพศโดยอากัปกิริยา (Non-verbal Sexual Harassment)

3. การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการคุกคามทางเพศ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีการรับรู้ใน พฤติกรรมการคุกคามทางเพศต่อร่างกาย (Physical Sexual Harassment) เช่น การจับหน้าอก หรือของสงวน การถูกต้อนเข้ามุม การพยายามข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น ว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมาก ส่วนพฤติกรรมที่เป็นการคุกคามด้วยวาจา เช่น การวิจารณ์รูปร่าง หน้าตา การแต่งตัว การเล่าเรื่อง ตลกลามก เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติหรือพอทนได้

4. สาเหตุที่ทำให้เกิดการคุกคามทางเพศมากที่สุด เกิดจากผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อมาก่อน มีแนวโน้มจะกระทำการคุกคามทางเพศต่อผู้อื่น ตามทฤษฎีความผิดปกติทางจิต (Pathology Theory) รองลงมาคือ โรงเรียนไม่มีการให้ข้อมูลหรือแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันการคุกคามทางเพศ ตามทฤษฎีวัฒนธรรม (Cultural Theories)

5. การตอบโต้ต่อพฤติกรรมการคุกคามทางเพศ นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ตอบโต้พฤติกรรม การคุกคามทางเพศทางวาจา เช่น การวิจารณ์รูปร่าง หน้าตา การแตง่ ตวั การเลา่ เรอื่ งตลกลามก แตห่ าก เป็นการคุกคามทางเพศด้วยวาจาและชัดแจ้งเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น การพูดจาแทะโลม หรือแซว ที่สื่อไปในทางเพศ นักเรียนก็จะใช้วิธีการหลีกเลี่ยงจากการถูกคุกคาม แต่หากนักเรียนถูกคุกคาม ทางเพศต่อร่างกาย หรือการคุกคามทางเพศโดยอากัปกิริยา เช่น การจับหน้าอก หรือของสงวน การพยายามข่มขืนกระทำชำเรา การโชว์อวัยวะเพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่รุนแรง นักเรียนจะ ตอบโต้โดยแจ้งครู หรือผู้ปกครอง

6. ผลกระทบของการคุกคามทางเพศที่พบต่อพฤติกรรมการแสดงออกที่โรงเรียน จะมี กระทบให้ขาดสมาธิในการเรียน หลีกหนีปัญหา เกิดความรู้สึกละอาย จนกระทั่งย้ายออกจาก โรงเรียน

7. นโยบายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในโรงเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ตอบว่าครูสอดแทรก เนื้อหาเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในชั้นเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดการฝึกอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศที่เน้นไปในเรื่องเพศสัมพันธ์มากกว่าเรื่องการคุกคามทางเพศ

8. ผู้วิจัยเสนอแนะให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมายเห็น ความสำคัญของปัญหานี้ ออกนโยบายกำหนดแนวทางการป้องกันและขจัดปัญหานี้ในโรงเรียน โดยละเอียดอย่างเป็นระบบและครอบคลุม นอกจากนี้ชุมชนและผู้ปกครองควรให้ความช่วยเหลือ ในการดำเนินการดังกล่าวนี้ และสุดท้ายควรได้มีการเก็บรวบรวมระบบฐานข้อมูลรวบรวมสถิติ ของการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและรวมอยู่ที่แหล่งเดียวเพื่อง่าย แก่การค้นคว้านำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยให้เป็นรูปแบบ และเหตุการณ์แวดล้อมที่ยั่วยุ และก่อให้เกิดความรุนแรงทางเพศ เพื่อประโยชน์ในการนำเสนอทางนโยบายต่อไป

 

Sexual Harassment in High Schools in Bangkok : Causes and Policy Implications

This article is the result of the research on Sexual Harassment in Secondary and High School in Bangkok area. The main purposes of the study are to study the understandings and perceptions of the students on the meaning, characteristics and patterns of sexual harassment in schools and their experiences in this sexual abusive behavior in schools. Furthermore, the study also investigated the causes of sexual harassment and its mental consequences on the students. One public and one private schools within the same vicinity in Bangkok area were purposively selected for the study. About 800 questionnaires (400 each school) were randomly distributed. Statistical analysis of percentage, Pearson Chi-square, and Paired t-test at significant level of .05 and .01 was employed to analyze and compare the findings of the two schools. It is expected that the study would gather substantial information to propose appropriate policy measures in managing the problems, providing collaborative measures, and preventing as well as counter attacking this social issue. With the total return of 783 questionnaires or 97.88 percents, the results are as follows:

1. In defining the term “sexual harassment,” both secondary school students define the term as physical violence against either male or female; while as high school students can provide better explanation of the term in more details, including verbal and non-verbal sexual harassment.

2. Asked about their understanding of this concept, students from both schools have no differences in understanding the concept of sexual harassment. They have little understanding of non-physical sexual harassment, particularly verbal and non-verbal sexual harassment.

3. On the perceptions of sexual harassment, most students consider physical sexual harassment conduct such as touching private parts, pushing, sexual assault or rape as severe and egregious conduct; while verbal sexual harassment, for example, abusive language like criticisms of their figures, appearances, dresses, and dirty talk as tolerable behaviors.

4. The main cause of sexual harassment behavior is that the harassers have experienced as the victims in the past. According to the Pathology Theory, these groups of people would have tendency to enact sexual assaults against others. The second explanation for sexual harassment is based on the Cultural Theories that the schools have no policy guidance about preventing or eliminating sexual harassment of students in schools.

5. Concerning students’ response to sexual harassment conduct, students would keep silence if it is verbal sexual harassment. However, for the less severe physical sexual harassment such as verbal abuse behavior, they would avoid confronting the harassers. They would also report to their teachers or parents, if sexual harassment conducts are perceived as severe and intolerable.

6. Sexual harassment is found to have effects on students’ performance or creating an intimidating, hostile or offensive environment, and changing schools.

7. Considering school’s policy on sexual harassment, sexual harassment is taught in class as part of the school curriculum. Schools also sometimes organize training session, but specifically emphasizing sexual relationship, not sexual harassment.

8. Based on the above findings, it is suggested that, among other things, the Ministry of Educations and all related educational institutions should provide systematically and comprehensively detailed policy guidance about preventing or eliminating sexual harassment of students in schools. In addition, community and parents’ involvement working closely with schools would help lessen the matter. Lastly, better statistical record of sexual harassment for further inquiry and research would provide sufficient supportive information on patterns and hostile environment harassment for future policy implications.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)