การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของการใช้ปุ๋ยผสมเองในการผลิตผักกาดฮ่องเต้

Main Article Content

นิจพร ณ พัทลุง
สิริพร สิริชัยเวชกุล
วรนิษฐา ช่วงชัย
เสาวณี ชาติเพชร

บทคัดย่อ

การศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนของการใช้ปุ๋ยผสมเองในการผลิตผักกาดฮ่องเต้เมื่อใช้สิ่ง ทดลองชนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ปุ๋ยคอกอัดเม็ด อัตรา 1,000 กก./ไร่ 3) ปุ๋ยเคมี สูตร 20-10-10 อัตรา 30 กก./ไร่ 4) ปุ๋ยเคมีผสมปุ๋ยคอกแล้วจึงอัดเม็ดสูตร 20-10-10 อัตรา 30 กก./ไร่ และ 5) ปุ๋ยเคมีเสริมปุ๋ยคอกอัดเม็ด สูตร 20-10-10 อัตรา 30 กก./ไร่ ณ ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัย ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549-มกราคม 2550 วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำ วิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบ เทียบค่าเฉลี่ยของความสูง ค่าเฉลี่ยของจำนวนใบ ค่าเฉลี่ยของเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นและน้ำหนัก สดของผักกาดฮ่องเต้ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปพบว่าการใช้ปุ๋ยประเภทต่าง ๆ ทำให้ผักกาดฮ่องเต้มี การเจริญเติบโตและผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ยกเว้นการใส่ปุ๋ยคอก 1,000 กก./ไร่ โดย การใส่ปุ๋ยเคมี 20-10-10 อัตรา 30 กก./ไร่ ทำให้ผักกาดฮ่องเต้มีการเจริญเติบโตและผลผลิตมาก ที่สุด รองลงมาได้แก่การใส่ปุ๋ยเคมีผสมปุ๋ยคอกอัดเม็ด การใส่ปุ๋ยเคมีผสมปุ๋ยคอกแล้วจึงอัดเม็ดตาม ลำดับ และการผสมปุ๋ยใช้เองสามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้ โดยต้นทุนการผสมปุ๋ยเคมี ใช้เองสูตร 20-10-10 มีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อปุ๋ยเคมีตามท้องตลาด การผสมปุ๋ยเคมีใช้เองมีต้นทุนการผลิตกิโลกรัมละ 10.35 บาท ในขณะที่ปุ๋ยเคมีตามท้องตลาดกิโลกรัมละ 20 บาท จะเห็นได้ว่าโดยการใช้ปุ๋ยเคมีผสมเองมีความคุ้มทุนในการผลิตผักกาดฮ่องเต้ มากที่สุด อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันระยะเวลานานจะทำให้ลักษณะทางกายภาพของดิน เสื่อมลงส่งผลให้ผลผลิตพืชลดลง ดังนั้นการใส่ปุ๋ยคอกเสริมลงไปในปุ๋ยผสมอย่างต่อเนื่องก็จะ เป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

Breakeven Analysis of Fertilizer Mixing by Farmer for PAK CHOI (Brassica chinensis var. chinensis) Production

Breakeven analysis of fertilizer mixing by farmer for Pak Choi production was studied as follow: the different fertilizer treatments were: 1) no fertilization 2) 1,000 kg/rai of organic fertilizer 3) 30 kg/rai of 20-10-10 chemical fertilizer 4) 30 kg/rai of 20-10-10 organic-chemical pelleted fertilizer, and 5) 30 kg/rai of 20-10-10 organic pelleted fertilizer supplemented with chemical fertilizer. The experiment was conducted at Agricultural Training and Research Centre of Rajabhat Nakhonrachasima University during November 2006–January 2007. Twenty 1x2 m2 plots were designed into RCBD with 4 replications. Data were done analysis of variance and mean comparison using statistical analysis software. Fertilizer application showed highly significant in promoting growth and yield of Pak Choi except 1,000 kg/rai of organic fertilizer. Application of 30 kg/rai of 20-10-10 chemical fertilizer showed highest growth and yield of Pak Choi. Fertilizer mixing by farmers decreased cost of Pak Choi production. The cost of fertilizer mixing by farmers themselves was 10.35 Baht/kg while in the market was 20 Baht/kg. The result suggested that using of fertilizer mixing by farmers showed more breakeven than fertilizer in the market. However, long term chemical fertilization decreased soil physical properties and the yield will be dropped. Mixing of organic compound with chemical fertilizer is an alternative way to increase soil organic matter and maintain soil fertility.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)