การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที

Main Article Content

วิชัย พ้องเสียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น
2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปี
การศึกษา 2560 จำานวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความรู้
ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบสอบถามค่านิยมพื้นฐานและจิตสำานึกรักษ์ท้องถิ่นและแบบสอบถามความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นการวิเคราะห์ข้อมูลโดย
ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ Dependent Samples)
และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความ
ต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ ที่มีองค์ประกอบ
หลักคือ คู่มือครู คู่มือนักเรียน มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน
ใบความรู้ แบบฝึกกิจกรรม และการวัดผลประเมินผล ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
ผู้เรียนให้สูงขึ้น 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ด
เพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำานึกรักษ์ท้องถิ่น
ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า SCADE Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียน
การสอน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เงื่อนไขในการใช้ชุดการเรียนรู้และการขยายผล ซึ่งมีกระบวนการเรียน
การสอน5ขั้นตอนคือ(1)Stimulate:Sกระตุ้นจิตสำานึก(2)Construction:Cสร้างความรู้ความเข้าใจ
(3) Application : A พัฒนาค่านิยมและปลูกจิตสำานึก (4) Discussion : D วิเคราะห์อภิปรายผล และ
(5) Evaluation : E การประเมินผล มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ 3) ผลทดลองใช้รูปแบบการจัดการ
เรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า ชุดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.12/85.98 สูงกว่าเกณฑ์
ที่กำาหนดไว้ ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำาคัญทางสถิติ
ที่ระดับ.05 และนักเรียนมีค่านิยมพื้นฐานและมีจิตสำานึกรักษ์ท้องถิ่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ
4) ผลการความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาด้วยชุดการ
เรียนรู้ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการ
เรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545 แก้ไข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำานักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. รายงานประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2559. ร้อยเอ็ด :
ทันใจการพิมพ์
สำานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : สำานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2551.