กีฬาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ(จังหวัดบุรีรัมย์)

Main Article Content

อรรถกร จัตุกูล

บทคัดย่อ

ปีพ.ศ.2554 จังหวัดบุรีรัมย์ได้สร้างสนามฟุตบอล เป็นสนามแข่งขันของ “ปราสาทสายฟ้า” ที่ผ่านมานั้น แฟนบอลจะรู้จักกันในหลายชื่อ ทั้ง ไอ-โมบาย สเตเดียม, บุรีรัมย์ สเตเดียม หรือ ธันเดอร์คาสเซิล สเตเดียม เมื่อกลายเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานในระดับสากล แห่งแรกในประเทศไทย ปัจจุบันสนามแห่งนี้ได้กลายเป็นแลนด์มาร์กของคนที่เดินทางมายังจังหวัดบุรีรัมย์ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และสร้างสนามมอเตอร์สปอร์ตบุรีรัมย์ อินเตอร์เนชั่นเนล เซอร์กิต จะทำให้ประเทศไทยมีสนามมอเตอร์สปอร์ตระดับมาตรฐานโลกเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่จังหวัดบุรีรัมย์  การเกิดขึ้นของทีมปราสาทสายฟ้าได้เปลี่ยนชีวิตของชาวบุรีรัมย์ไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อใดที่ทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีนัดเปิดบ้านรับการมาเยือนของคู่แข่ง คนบุรีรัมย์จำนวนไม่น้อยจะเดินทางมาให้กำลังใจนักเตะจนแน่นสนาม ไม่เว้นแม้แต่คนต่างจังหวัด และนักท่องเที่ยวจากจังหวัดอื่น ๆ ที่บางคนต้องเดินทางมาหลายร้อยกิโล เพื่อมาชมฝีแข้งของนักรบปราสาทสายฟ้า พร้อมกับสัมผัสบรรยากาศความยิ่งใหญ่ของสนามนิว ไอ-โมบาย สเตเดียม ที่ว่ากันว่าได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับโลก มีผู้ที่เข้าจังหวัดบุรีรัมย์มากขึ้นในแต่ละปี    อันจะเกิดประโยชน์กับการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงานทำให้เกิดกิจการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดรายได้อีกมากหมายให้กับจังหวัดบุรีรัมย์ ยิ่งมีการใช้จ่ายเงินเกิดขึ้นในจังหวัดบุรีรัมย์มากทำให้เศรษฐกิจได้หมุนเวียนและคล่องตัว ทุกอย่างก็จะสมดุลตั้งแต่ลูกจ้างจนถึงนายจ้างเลยทีเดียว

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2561, จากhttps://thai.tourismthailand.org/สถานที่ท่องเที่ยว.
พระราชบัญญัติ. (2561). พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556. กรุงเทพมหานคร : การกีฬา
แห่งประเทศไทย.
วิกิพีเดีย. (2561). สโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด. สืบค้นเมื่อ 5มีนาคม.2561, จาก http://th.wikipedia.org/.
สำนักงานคลังจังหวัดบุรีรัมย์. (2561). รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ
2 เมษายน 2561, จาก https://www.cgd.go.th/cs/brm/brm /ประมาณการเศรษฐกิจ. html.