การพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ

Main Article Content

นงลักษณ์ พิมพ์ศรี
สุนันทา วีรกุลเทวัญ
อมรรัตน์ ภิญโญอนันพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนา
สมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาลักษณะและพฤติกรรมสมรรถนะประจำสาย
งานครูด้านภาวะผู้นำ 3) เพื่อสร้างคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะ
ผู้นำ 4) เพื่อทดลองการพัฒนาครูด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยได้กำหนด
วิธีดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาครูในสถานศึกษาจาก
แหล่งข้อมูล 2 แหล่ง คือ 1) จากเอกสารงานวิจัย และ 2) จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูสอนดีจำนวน 100
คน ที่ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า
5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่า
เฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาคู่มือการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงาน
ครูด้านภาวะผู้นำ ตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันคู่มือตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้การ
สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน
ระยะที่ 3 การทดลองใช้คู่มือการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ โดยเลือกครูสอนดี
เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการพัฒนาจำนวน 30 คน โดยการประเมินก่อนและหลังการพัฒนา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
1. องค์ประกอบการพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำ�สายงาน
ด้านภาวะผู้นำ�ครูประกอบด้วย 5 ด้านได้แก่ 1) วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครู
2) การสนทนาอย่างสร้างสรรค์ 3) การเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง 4) การปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง
และ 5) การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน

2. ลักษณะและพฤติกรรมครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำสายงาน
ด้านภาวะผู้นำครูพบว่า ลักษณะและพฤติกรรมครู เฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.18) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง ( X =
4.67) รองลงมา คือ ด้านวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครูแสดงออกกับผู้เรียนอย่าง
เหมาะสมกับความเป็นครู ( X = 4.53) ส่วนด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน อยู่ในระดับปานกลาง
( X = 3.47)
3. สร้างและพัฒนาคู่มือการพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำ
สายงานด้านภาวะผู้นำครู คู่มือประกอบด้วย ความเป็นมา จุดประสงค์ เนื้อหาหลักสูตร ระยะเวลาใน
การพัฒนา ตารางพัฒนาตามหลักสูตร หลักสูตรการพัฒนาครู วิธีการพัฒนา สื่อและนวัตกรรมการ
พัฒนา การประเมินผลการพัฒนาโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ ให้การยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้
4. พัฒนาครูภาวะผู้นำด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 3 ระยะ การดำเนินการ
ในขั้นกระบวนการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะก่อนปฏิบัติการ ระยะที่ 2 ระยะปฏิบัติการ
ประกอบด้วย การประชุมปฏิบัติการ โดยใช้คู่มือการพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมิน
สมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครูที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบการประชุมปฏิบัติการ ระยะที่
3 ระยะหลังปฏิบัติการ ใช้แบบสอบถามพฤติกรรมครูในสถานศึกษา และพบว่า หลังการประชุมปฏิบัติ
การ ค่าเฉลี่ยของประเมินครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะ
ผู้นำครูสูงกว่าก่อนการเข้าประชุมปฏิบัติการ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)