การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

วริศา ภู่ระหงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน เป็นห้องเรียนที่ได้ทำการคละผู้เรียนประกอบด้วยกลุ่มที่เรียนอ่อน ปานกลางและเก่ง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยการจับฉลาก (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบวัดเจตคติของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ Dependent Sample  ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี           ประสิทธิภาพ 84.92/81.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน โดยบูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

  3. เจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนหลังการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน โดยบูรณการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44  ซึ่งมีเจตคติในทางบวก อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: กิจกรรมการเรียนรู้คอมพิวเตอร์   บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

เอกสารอ้างอิง

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: บริษัท ครองช่างพริ้นติ้ง จำกัด.
จำเนียร จินตนา. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.
การศึกษาค้นคว้าอิสระ. การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดวงพร อิ่มแสงจันทร์. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศ และความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
ธนันสิน อวิธธนานนท์. (2553). การประเมินโครงการเกษตรผสมผสานเพื่อรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 4
สันป่าก่อ เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระ. ปริญญาคุรุศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาการบริหาร
การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิสณุ ฟองศรี. (2551). เทคนิควิธีประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ตี้พรินท์.
เยาวรัตน์ ปลื้มใจ. (2552). การสร้างชุดการสอนภาษาอังกฤษแนวบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วนิดา ตันสุวรรณรัตน์. (2543). ชุดกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วารินทร์ รัศมีพรหม. (2542). การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา.
คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. [ระบบออนไลน์]. http://www.nesdb.go.th.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อารีรัตน์ ใจซื่อ. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับงานประดิษฐ์จากวัสดุใน
ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Likert Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and
Measurement. (pp. 90-95), Fishbeic, Matin, Ed. New York:Wiley & Son.