การตัดสินใจออมเงินและลงทุนของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

รวีพรรณ อุตรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะการออมและการลงทุน แรงจูงใจในการออมและการลงทุนและการตัดสินใจออมและการลงทุนของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) การตัดสินใจออมและการลงทุนของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ของความรู้ความเข้าใจในการออมและการลงทุนและแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจออมและการลงทุนของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จำนวน 264 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test / F-test (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36 - 50 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นบุคลากรสายผู้สอน มีรายได้ประมาณ 20,001 บาท - 30,000 บาท ส่วนรายจ่ายอยู่ที่ 10,001 บาท - 20,000 บาท และมีจำนวนเงินออม/ลงทุนในแต่ละเดือนอยู่ที่ 1,001 - 3,000 บาท ลักษณะของการออม/ลงทุน ส่วนใหญ่ คือ การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดสินใจออมและการลงทุนในระดับมากแรงจูงใจในการออมและการลงทุนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตัดสินใจว่าน่าจะออมและลงทุน 2) บุคลากรที่มีระดับการศึกษารายจ่ายต่อเดือน จำนวนเงินออมและการลงทุนที่ต่างกันและประเภทของบุคลากรที่ต่างกันมีการตัดสินใจออมและลงทุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความรู้ความเข้าใจในการออมและการลงทุน ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจออมและการลงทุน ส่วนแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก มีความสัมพันธ์ในทางบวกและส่งผลต่อการตัดสินใจออมและลงทุน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น 35.2 %

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)