ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุพรรณ สิงหนุวัฒนะ
ธนิน กระแสร์
วันทนีย์ นามสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึก ทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึก ทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ1384) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง ทศนิยม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้ แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนกนกศิลป์พิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำนวน 38 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.42 – 0.72 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.55 – 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และ4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1 /E2 และ E.I.การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.42/86.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้

2. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 0.7250 หรือคิดเป็น ร้อยละ 72.50

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

Effects of Mathematical Exercises Entitled Decimal by Using Collaborative Learning: STAD Technique for Matthayomsuksa 1 students

The purposes of this research were : 1) to study the efficiency of the exercises entitled Decimal by using collaborative learning: Student Teams Achievement Division (STAD) technique for Matthayomsuksa 1 students; 2) to compare the students’ learning achievement between before and after learning through the exercises entitled Decimal by using collaborative learning : STAD technique for Matthayomsuksa 1 students; 3) to investigate the effectiveness index of learning of the exercises entitled Decimal by using collaborative learning: STAD technique for Matthayomsuksa 1 students; and 4) to explore the students’ satisfaction towards learning the exercises entitled Decimal by using collaborative learning: STAD technique for Matthayomsuksa1 students. The samples were 38 Matthayomsuksa 1 students studying in the 2nd semester of the academic year 2014 at Kanoksinpittayachom School , Secondary Educational Service Area Office, Area 32. Cluster Random sampling was used. The instruments used in this study were : 1) 5 sets of the exercises entitled Decimal by using collaborative learning: STAD technique for Matthayomsuksa 1 students, 2) 6 learning activity lesson plans, 3) 4 – choice 140achievement test comprising 30 items with the difficulty level between 0.42 – 0.72, the discrimination between 0.55 – 0.82 and the reliability at 0.92, and 4) a questionnaire on students’ satisfaction. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation, E1 /E2 and E.L. The hypothesis was tested by using t-test dependent samples. The results were as

1. The exercises entitled Decimal by using collaborative learning: STAD technique for Matthayomsuksa 1 students had an efficiency of 83.42/86.22

2. The students learned through the exercises entitled Decimal by using collaborative learning: STAD technique for Matthayomsuksa 1 students after learning had higher achievement than before learning with significance difference at the level of .05.

3. The effectiveness index of learning through the exercises entitled Decimal by using collaborative learning: STAD technique for Matthayomsuksa 1 students was 0.7250, which meant that the students learning achievement increased 72.50%.

4. The satisfaction of the students towards the exercises entitled Decimal by using collaborative learning: STAD technique for Matthayomsuksa 1 students as a whole was at the highest level.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)