รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อภินันท์ สนน้อย
ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ
สุรชัย ปิยานุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์
2) ศึกษาระดับของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูง
อายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 4) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ วิธีการ
ศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในและนอกเขตเทศบาลและกลุ่มนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น
3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน
40 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และเก็บรวมรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดย
การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ได้จากการสุ่มจากประชากร ผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ใน
เขตเทศบาลและเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 23 อำเภอ ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 189,816 คน
กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้ตัวอย่างจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติวิเคราะห์ ใช้ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ .05 และ ระยะที่ 3 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการที่
เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่ม
เป้าหมายแบบเจาะจง โดยกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา
อธิบายและตีความเทียบเคียงกับบริบทการวิจัย โดยวิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพ

คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ด้านร่างกาย สุขภาพของผู้สูงอายุไม่แข็งแรง มีโรคประจำ
ตัว เช่น เบาหวาน ความดัน ด้านจิตใจ ผู้สูงอายุมีสภาพความเป็นอยู่ดี อบอุ่น มีความเหมะสม ความ
สัมพันธ์กับครอบครัวชุมชน ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมการทำกิจกรรมพอสมควร ด้านสภาพแวดล้อม ลักษณะ
ที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุมีความเหมาะสม 2) ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวม
อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์
ทางสังคม และด้านจิตใจ และ อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านร่างกาย และ ด้านสภาพแวดล้อม
3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมกับครอบครัวและชุมชน ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านความ
พึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ และ ปัจจัยด้านการให้คุณค่าในตนเอง โดยที่ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 5 ตัว
มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ(R) เท่ากับ .858 สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 73.70 (R2= 0.737, F= 220.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้สูงอายุ ควรพัฒนาตนเองช่วยเหลือตนเอง
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ครอบครัว ควรช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ หน่วยงานภาครัฐ เช่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จัดสวัสดิการ กิจกรรมเพื่อสุขภาพ ดูแลความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สิน จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ อบรมให้ความรู้ จัดสิ่งอำนวยความ
สะดวก จัดบริการสาธารณะ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)