A Development of Executive Function Skills Indicators for Elementary Students

Main Article Content

Thapanee Saengsawang
Wilailak Langka
Daranee Utairatanakit
Suwaporn Semheng

Abstract

The objectives of this research were 1) to explore and synthesize Executive Function skills (EF) indicators, 2) to develop and investigate the quality of EF indicators, and 3) to investigate the quality of Behavior of Executive Skills Scale (BESS). The participants were the elementary students who taught in the second semester of 2014 academic year under the Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration, Office of the Basic Education Commission, and the Office of the Higher Education Commission in Bangkok. The participants were selected using multi-stage random sampling. The 60 teachers in the study were assigned to assess 450 students' behavior by using the BESS (Teacher Form) as the research instrument in this study.

The research findings were as follows: 1) EF indicators set comprised 9 indicators within 3 components: 1.1) metacognition: indicator of initiative, working memory, planning/organizing, organization of materials, and task-monitoring; 1.2) emotional regulation: indicator of shifting, and emotional control, and 1.3) behavioral regulation: indicator of self-monitoring, and inhibition; 2) EF Measurement model for elementary students revealed the constructed validity by using Confirmatory Factor Analysis. The EF indicators had good quality in terms of internal consistency reliability, appropriateness, credibility, utility, and high feasibility for applying to collect data; and 3) The BESS (Teacher Form) revealed the constructed validity by using Confirmatory Factor Analysis. The internal consistency reliability was high; Rater Agreement Index was of good agreement; and discrimination index was good.

 

การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและสังเคราะห์ตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และ พฤติกรรม 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม และ 3)ตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรมกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เขต กรุงเทพมหานคร ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยให้ครูประจำชั้นรวม 60 คน ประเมิน พฤติกรรมนักเรียนรวม 450 คน ในแบบวัดทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรมสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษา (ฉบับครูประเมิน) ที่ใช้เป็นเครื่องมือวิจัยครั้งนี้

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม ประกอบด้วย 9 ตัวบ่งชี้ จัดอยู่ใน 3 องค์ประกอบ คือ 1.1) การรู้คิด ตัวบ่งชี้การริเริ่ม ความจำในการทำงาน การวางแผน/จัดระบบ การจัดระเบียบวัสดุ และการตรวจสอบงาน 1.2) การกำกับอารมณ์ ตัวบ่งชี้การปรับเปลี่ยน และการควบคุม อารมณ์ และ 1.3) การกำกับพฤติกรรม ตัวบ่งชี้การตรวจสอบตนเอง และการยับยั้ง 2) โมเดลการวัดทักษะ การบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตัวบ่งชี้มีคุณภาพอยู่ในระดับดีทั้งในด้านความเชื่อมั่นแบบ ความสอดคล้องภายใน ความเหมาะสม ความน่าเชื่อถือ ความเป็นประโยชน์ และมีความเป็นไปได้สูงสำหรับ การนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูล และ 3) แบบวัดทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรมสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษา (ฉบับครูประเมิน) มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยัน มีค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายในระดับสูง ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน มีความสอดคล้องกันดี และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

Article Details

Section
Research Articles