Factors Affecting the Behavioural Intention to Use Eco-Friendly IT: Case Study of Rajabhat University Member Perspective In Bangkok Metropolitan Area

Main Article Content

Supaporn Wongsa

Abstract

This study investigated factors that predict Rajabhat university members’ intentions to use eco-friendly IT habits in their daily life, based on the Theory of Reasoned Action (TRA) and the Perception and Awareness Theory. The survey instrument was developed from previous studies, with questions asking about demographics, media perception, and priority for environmental issues. Finally, a questionnaire was used for collecting data from 209 subjects, selected by using convenience sampling. Subjects include university personnel, professors, executives and students in eight different Rajabhat University campuses in Bangkok Metropolitan Area.

The validity and reliability of the instrument are perfectly acceptable, and the simple linear regression analysis shows that the Environmental Problem Perceived is related to the Environmental Problem Learning, which, in turn, is related to the Environmental Sustainable Awareness. From the result of multiple regressions, the subjects’ Attitude toward Eco-Friendly IT, Environmental Sustainable Awareness, Social Influence toward Eco-Friendly IT,and Environmental Problem Perceived are related to Intention to Use Eco-Friendly IT.

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีพื้นฐานการศึกษาจากทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล ร่วมกับทฤษฎีการรับรู้และการตระหนัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรม โดยการผสมผสานข้อคำถาม ลักษณะทางประชากรศาสตร์ และคำถามอื่นๆ เช่น การรับรู้สื่อและการจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเก็บข้อมูลด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 209 ตัวอย่าง ประกอบด้วยบุคลากร อาจารย์ ผู้บริหาร และนักศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 8 แห่งผลการทดสอบความเที่ยงและความตรงของข้อคำถามอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ในขณะที่ผลการวิเคราะห์การถดถอยพบว่า การรับรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการตระหนักถึงความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังพบว่าทัศนคติ การตระหนักถึงความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม อิทธิพลทางสังคม และการรับรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


Article Details

Section
Research Articles