การศึกษาทัศนคติทางชีววิทยาระยะยาวของนักศึกษาโปรแกรมชีววิทยา

Main Article Content

พัชราวรินทร์ เรือนโต

Abstract

ผู้วิจัยได้ตรวจสอบทัศนคติระยะยาวของนักศึกษาชีววิทยา ชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 192 คน โดยใช้ชุดทดสอบทัศนคติทางชีววิทยา ครอบคลุมทัศนคติด้านต่างๆคือ การนำความรู้ทางชีววิทยาไปใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนอย่างมีความสุขการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลความสามารถในการวิเคราะห์สังเคราะห์ การประยุกต์ใช้ความรู้ ความพยายามและการเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยทัศนคติแต่ละด้านของนักศึกษาในแต่ละชั้นปีอยู่ในระดับ ดี และปานกลางที่ค่อนไปทางดี โดยระดับคะแนนทัศนคติของนักศึกษาแต่ละชั้นปีมีความใกล้เคียงกัน ผลการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 จากนักศึกษากลุ่มเดิมหลังจากผ่านไปหนึ่งภาคเรียน พบว่าระดับทัศนคติมีการเปลี่ยนแปลงจากภาคเรียนที่ 1 ไม่มากนักอย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาผลการตอบสนองต่อคำถามทัศนคติเฉพาะทิศทางลบ พบว่าทัศนคติด้านการนำความรู้ทางชีววิทยาไปใช้ในชีวิตประจำวันการวิเคราะห์สังเคราะห์ความพยายาม และการเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจมีระดับต่ำลง


This study aims to develop the attitude test and to determine the long-term perspective of 192 biology students in the Faculty of Education of Chiang Rai Rajabhat University. The issues include the ability to link biology to everyday life, happiness in learning, synthetic analytical skills, strategies to solve problems, having efforts, and the ability to apply from memory to gain ideas. The results showed that the majority of students have good and moderate levels of attitude.  The attitudes of students from different years are similar. The data were collected again from the same student group after one semester using the same questionnaire. No significant change in attitude was noticeable. However, attitudes toward the ability to link biology to everyday life, synthetic analytical skills, having efforts, and the ability to apply from memory to gain ideas, were of significant differences between the two semesters when tested with questions in the negative direction.

Article Details

Section
Research Articles